วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วังเพชรบูรณ์




ประวัติของตำหนักประถม
          ตำหนักประถมเดิมสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2462 เป็นตำหนักแรกภายในวังเพชรบูรณ์ของสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย (พ.ศ.2435-2466) พระราชโอรสองค์ที่ 72 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่แปดของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง

          เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษใหม่ๆ สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชยังไม่มีที่ประทับเป็นส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเชษฐาองค์โตร่วมพระราชชนนีจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินบริเวณพระราชวังปทุมวัน และโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวังนี้ว่า วังเพชรบูรณ์

          แต่เดิมวังเพชรบูรณ์ตั้งอยู่ที่สี่แยกราชประสงค์ หรือศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ในปัจจุบัน เป็นวังที่ร่มรื่นมาก ด้านหน้าวังมีพื้นที่ติดถนนพระรามที่ 1 ด้านขวาติดวังสระปทุม ด้านซ้ายติดถนนราชดำริและด้านหลังติดคลองแสนแสบ ภายในวังโปรดให้ขุดสระใหญ่ๆ สองสระ มีเกาะน้อย เกาะใหญ่ รายล้อมไปด้วยน้ำและต้นไม้ และมีบรรยากาศที่ก่อให้เกิดตำนานเล่าขานต่างๆ เช่นว่า มีนางเงือกสิงสถิตย์อยู่ในบริเวณนี้ และในคืนวันเพ็ญเดือนหงายจะโผล่ขึ้นมานั่งสางผมบนเกาะ

          เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชสิ้นพระชนม์ลงในพ.ศ.2466 ด้วยพระชนมายุเพียง 31 ชันษา วังเพชรบูรณ์เป็นที่ประทับต่อของพระชายา ม.จ.บุญจิราธร จุฑาธุช และยังคงความร่มรื่นต่อไป จนกระทั่ง ม.จ.บุญจิราธร สิ้นพระชนม์ลงเมื่อปี 2523 และวังเพชรบูรณ์ กลับคืนไปอยู่ในครอบครองของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ก่อนจะกลายสภาพเป็นศูนย์การค้า พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา พระธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุช ได้ขอพระราชทานรื้อถอนบางส่วน เพื่อชะลอมาไว้ที่ซอยอัคนี ถนนงามวงศ์วาน ซอย 2 เมื่อปี 2527

          ตำหนักประถมได้รับการรื้อถอนแล้วสร้างขึ้นใหม่ตามรูปแบบเดิม ตามหลักสถาปัตยกรรมที่ถูกต้องโดยอาจารย์สุนนท์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา สถาปนิกอนุรักษ์แห่งมหาวิทยลัยศิลปากร เมื่อสถาปนิกเข้าไปสำรวจครั้งแรกได้พบว่าตัวอาคารซึ่งเป็นไม้สักทองนั้น ถึงแม้ภายนอกจะมีลักษณะเก่าคร่ำคร่าเนื่องจากยืนตากแดดตากฝนมากว่า 60 ปี แต่โครงสร้างภายในตลอดจนส่วนประกอบของตัวบ้านยังมีความสมบูรณ์เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ โครงสร้างที่ต้องซ่อมแซมได้แก่รอยต่อของเสาบางต้นซึ่งชำรุดเพราะความชื้นเท่านั้นเอง

          ตัวอาคารซึ่งเรียกว่า "ตำหนักประถม" นั้น เป็นอาคารไม้สักใต้ถุนสูง ลักษณะอาคารเป็นแบบพักอาศัยในยุคที่กำลังได้รับอิทธิพลจากตะวันตกในยุคแรกๆ คือมีการวางห้องต่างๆ ให้ติดต่อกันภายใต้หลังคาชัน เพดานสูง มีบานเกล็ดหรือบานกระทุ้งตามหน้าต่างเพื่อระบายความร้อน เรียกได้ว่าถึงจะเป็นอาคารฝรั่ง แต่ก็เป็นฝรั่งหน้าตาไทยๆ มีเนื้อที่ใช้สอยอยู่ชั้นสองซึ่งประกอบด้วยห้องนอน ห้องรับแขก และห้องน้ำ ซึ่งคงจะเป็นการต่อเติมภายหลัง นอกจากนี้ยังมีห้องใต้หลังคาชั้นสาม เดิมใช้เป็นที่เก็บของ ซึ่งก็เป็นความคิดแบบฝรั่งๆ เช่นกัน

          การจัดบ้านภายในตำหนักประถมดังเช่นที่เห็นในปัจจุบันเรียกว่า เป็นไปตามจินตนาการของผู้จัด ว่าบ้านของศิลปินหนุ่มนั้นน่าจะมีลักษณะเช่นใด อย่างไรก็ตามเครื่องเรือนบางชิ้น เช่นเตียง และโคมไฟบางดวง ตลอดจนเครื่องฮาร์พซึ่งมีอายุเกือบ 100 ปีนั้น เป็นของเก่าดั้งเดิมที่อยู่ภายในบ้าน เครื่องประดับประดา สิ่งละอันพันละน้อย ก็เป็นของเก่าแก่ที่ตกทอดมาภายในครอบครัวนานประมาณสี่ชั่วอายุคน

          ส่วนเรือนริมน้ำเป็นอาคารเล็กๆ น่ารักที่ก่อสร้างด้วยความประณีตยิ่ง คิ้ว บัว ผนัง และเพดานมีรายละเอียดสวยงาม เรือนน้ำและเรือนต้นไม้แปดเหลี่ยมซึ่งแต่เดิมเป็นที่ตั้งตู้ปลา ได้โยกย้ายมาจากวังเพชรบูรณ์เดิมพร้อมกับตำหนักประถมและประกอบขึ้นใหม่เสร็จสิ้นเมื่อปีพ.ศ.2528

          ส่วนอาคารไม้หลังใหญ่อีกหลังหนึ่งซึ่งต่อเติมออกมาจากตำหนักประถมนั้น ประกอบขึ้นใหม่ในปี พ.ศ.2534 โดยนายญานี ตราโมท จุดเด่นของบ้านหลังใหญ่ หรือเรียกกันว่าตำหนักใหม่นั้นคือ ห้องโถงปิดลายทองที่ได้รับการบูรณะใหม่โดยช่างกรมศิลปากร


เจ้าฟ้านักฮาร์พ
          สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชฯ เป็นศิลปินไทยพระองค์แรกที่ทรงเรียนเล่นพิณฝรั่งหรือฮาร์พ และได้นำฮาร์พเครื่องหนึ่งกลับมาทรงที่เมืองไทยในฐานะเป็นเครื่องดนตรีชิ้นโปรดด้วย

          ฮาร์พตัวนี้ ทำโดยตระกูลมอร์ลี ช่างฮาร์พหลวง (ในอดีต) ของอังกฤษ ท่านทรงซื้อเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2459 และหลังจากสิ้นพระชนม์แล้ว ฮาร์พตัวนี้ถูกทอดทิ้งอยู่ในวังเพชรบูรณ์โดยไม่มีคนเล่น ครั้นมีการชะลอตำหนักประถมมาอยู่ที่นนทบุรี ฮาร์พตัวนี้ได้ตามมาด้วย

          เมื่อปี พ.ศ.2543 ทายาทส่งฮาร์พนี้ไปบูรณะที่โรงงานดั้งเดิมที่อังกฤษ เพื่ออนุรักษ์ไว้เป็นฮาร์พประวัติศาสตร์ เป็นฮาร์พตัวแรกของประเทศไทย
พระประวัติ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย
          สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย เป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ประสูติเมื่อวันอังคารที่ 5 กรกฎาคม ปีมะโรง พ.ศ.2435 ทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอในรัชกาลที่ 6

          ทรงศึกษาที่โรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง แล้วเข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยชั้นประถมจน พ.ศ.2448 จึงเสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ เข้าศึกษาในวิทยาลัยแมคเดอเลน ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ จนสำเร็จการศึกษาได้ปริญญาตรี ด้านวรรณคดี ในปี พ.ศ.2459 พระองค์ทรงโปรดวิชาการดนตรีและการละคร ทรงดีดพิณที่เรียกว่า ฮาร์พ ได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งทรงโปรดเปียโนและไวโอลิน เสด็จกลับมาประทับที่วังพญาไท เมื่อปี พ.ศ.2461

          พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย ทรงบรรจุเป็นข้าราชการในกระทรวงธรรมการ และเป็นศาสตราจารย์สอนวิชาภาษาอังกฤษของคณะรัฎฐประศาสนศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ.2461 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา โรงเรียนเพาะช่าง ตั้งแต่ พ.ศ.2462 พร้อมทั้งพระราชทานที่ดินบริเวณวังปทุมวัน สร้างตำหนักประถม ให้เป็นที่ประทับ ขึ้นเป็นหลังแรก พระราชทานนามวังใหม่ว่า "วังเพชรบูรณ์" พระองค์เสด็จมาประทับราวกลาง พ.ศ.2462 เป็นต้นมา และในปี พ.ศ.2465 ก็ทรงได้รับพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการโรงเรียนเพาะช่าง และทรงอภิเษกกับ หม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธรชุมพล ในปีเดียวกัน

          สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2466 ด้วยพระโรคบิด และพระวักกะ(ไต)พิการ ณ วังเพชรบูรณ์ พระชนมายุได้ 31 พรรษา มีพระโอรสธิดา 2 พระองค์ คือ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า สุทธสิริโสภา และพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช


เจ้าฟ้านักฮาร์พ
          สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชฯ เป็นศิลปินไทยพระองค์แรกที่ทรงเรียนเล่นพิณฝรั่งหรือฮาร์พ และได้นำฮาร์พเครื่องหนึ่งกลับมาทรงที่เมืองไทยในฐานะเป็นเครื่องดนตรีชิ้นโปรดด้วย

          ฮาร์พตัวนี้ ทำโดยตระกูลมอร์ลี ช่างฮาร์พหลวง (ในอดีต) ของอังกฤษ ท่านทรงซื้อเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2459 และหลังจากสิ้นพระชนม์แล้ว ฮาร์พตัวนี้ถูกทอดทิ้งอยู่ในวังเพชรบูรณ์โดยไม่มีคนเล่น ครั้นมีการชะลอตำหนักประถมมาอยู่ที่นนทบุรี ฮาร์พตัวนี้ได้ตามมาด้วย

          เมื่อปี พ.ศ.2543 ทายาทส่งฮาร์พนี้ไปบูรณะที่โรงงานดั้งเดิมที่อังกฤษ เพื่ออนุรักษ์ไว้เป็นฮาร์พประวัติศาสตร์ เป็นฮาร์พตัวแรกของประเทศไทย




http://khunmaebook.tarad.com/product.detail_646347_th_4614561#
http://www.bangkokgoguide.com/ev-tprathom-hist.php

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

รัฐบุรุษ นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยคนที่ 16

พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก เปรม ติณสูลานนท์
 (26 สิงหาคม พ.ศ. 2463 — ) ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยคนที่ 16 ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี 3 สมัย ระหว่างปี พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2531และเป็นนายกรัฐมนตรีตามคำเชิญของรัฐสภาที่ครองอำนาจยาวนานที่สุด ทั้งนี้เพราะกฎหมายไทยในสมัยนั้นไม่ได้กำหนดให้รัฐสภาต้องเลือกนายกรัฐมนตรี จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
บุคลิกส่วนตัวพลเอกเปรมเป็นคนพูดน้อย ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย จะให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนน้อยมาก จนถูกหนังสือพิมพ์ในขณะนั้นเรียกขานว่า เตมีย์ใบ้ [1] และได้รับอีกฉายาหนึ่งว่า นักฆ่าแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา จากเหตุการณ์กบฏเมษาฮาวายและกบฏ 9 กันยา[2]
หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรม เป็นองคมนตรี ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2531 จากนั้นในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ได้รับโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ และในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2541 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี

อินทร์ จันทร์


อินทร์
จันทร์ 


มั่น
คง

 หล่อ   อยู่
ยั่ง

พระ   ยืน
ยงค์

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คดีสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรีอีสาน พ.ศ. 2492

บันทึกของ คดีสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรีอีสาน พ.ศ. 2492

  • ใน 4 อดีตรัฐมนตรีอีสานมี
  • นายเตียง ศิริขันธ์

















..............................................




นายจำลอง ดาวเรือง


ชื่อ นายจำลอง ดาวเรือง นายจำลอง ดาวเรือง เกิดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2453 ที่บ้านงัวบา ตำบลงัวบา อำเภอวาปีปทุม เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายมา และนางสอน ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 6 คน ครอบครัวอยู่ในฐานะยากจน มีอาชีพทำนา อายุ 7 ปี ได้เข้าเรียนในโรงเรียนประชาบาลวัดบ้านงัวบา โดยอาศัยศาลาวัดเป็นสถานที่เรียน พอถึงชั้นประถมปีที่ 3 ศึกษาธิการอำเภอวาปีปทุม (เช็ค เยาวสุต) ได้ชักนำให้ไปเรียนต่อที่อำเภอวาปีปทุม จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก แขก (ตอนเด็ก ๆ หน้าตาคล้ายแขก ตาโต จมูกโต คิ้วดก แขนขายาว ผิดจากพี่น้องด้วยกัน จึงถูกเรียกว่าแขก) เป็นจำลอง
ต่อมานายจำลอง ดาวเรือง ได้ไปเรียนต่อที่โรงเรียนสารคามพิทยาคม ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด ขณะนั้นตั้งอยู่วัดโพธิ์ศรี จำลองเป็นคนเรียนเก่ง จบชั้นประถมศึกษาในปี พ.ศ. 2464 และได้เข้าเรียนต่อชั้นมัธยมปีที่ 1 ที่โรงเรียนสารคามพิทยาคม (ซึ่งช่วงนั้นย้ายมาตั้งที่สถานที่ปัจจุบัน) มีเพื่อนร่วมรุ่นและเป็นคู่แข่งทางการเรียนกันมาตลอดคือ นายบุญถิ่น อัตถากร
จบชั้นมัธยมปีที่ 3 จากโรงเรียนสารคามพิทยาคม ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนแล้ว ได้ไปเรียนที่โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย จบชั้นมัธยมปีที่ 5 ในปี พ.ศ. 2468 ไม่ได้เรียนต่อเพราะไม่มีทุนทรัพย์
หลวงพิสิษฐ์ เกษมสวัสดิ์ (เจ๊กหยงนี) เจ้าของรถยนต์โดยสารเห็นว่าจำลองเป็นคนเรียนเก่ง ความประพฤติดี รักการกีฬาและเครื่องยนต์ จึงออกค่าใช้จ่ายให้จำลองไปเรียนช่างกลที่กรุงเทพมหานคร
ต่อมาจำลอง ดาวเรือง ได้สมัครเป็นครูประชาบาล ที่อำเภอวาปีปทุม แล้วลาออกมาตั้งโรงเรียนราษฎร์ขึ้นที่อำเภอวาปีปทุม ชื่อโรงเรียนเรืองวิทยา เมื่อ พ.ศ. 2480 นับเป็นโรงเรียนราษฎร์แห่งแรกของจังหวัดมหาสารคาม นายจำลอง ดาวเรืองเป็นผู้จัดการ แล้วเปิดอบรมชุดครูให้กับครูประชาบาล ทำให้มีคนรู้จักมาก
นายจำลอง ดาวเรือง ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร จังหวัดมหาสารคาม 3 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 - 2490 มีแนวคิดท้องถิ่นนิยม ต้องการให้มีการกระจายอำนาจลงสู่ชนบทเป็นหลัก แนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกับ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ (ส.ส. อุบลราชธานี) นายถวิล อุดล (ส.ส ร้อยเอ็ด) และนายเตียง ศิริขันธ์ (ส.ส สกลนคร) กลุ่มนี้เป็นฝ่ายค้านและผลักดันให้กลุ่มผู้แทนราษฎรภาคอีสานเคลื่อนไหวคัดค้านนโยบายรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้รัฐบาลตัดสินใจยุบสภา ในปี พ.ศ. 2481
นอกจากนั้นยังมีแนวคิดเสรีนิยมมุ่งต่อต้านเผด็จการทหาร โดยรวมกลุ่มกับนายปรีดี พนมยงค์ นายเลียง ไชยกาล พระสารคามคณาภิบาล นายทองม้วน อัตถากร นายทองดี ณ กาฬสินธุ์ ฯลฯ ต่อมาได้ร่วมกันตั้งพรรคการเมืองชื่อ "พรรคสหชีพ" โดยนโยบายพรรคยึดถือเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์
การทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎร ได้ตั้งกระทู้ถามรัฐบาลหลายเรื่อง เช่นการเก็บภาษีอากรค่านาในภาคอีสาน การไปตรวจราชการของรัฐมนตรี การศึกษา การกินสินบนของข้าราชการ ฯลฯ
ได้ร่วมกันออกหนังสือพิมพ์ราย 10 วัน ชื่อ "สยามอุโฆษ" ในปี พ.ศ. 2480 นายเตียง ศิริขันธ์เป็นบรรณาธิการ
นายจำลอง ดาวเรือง เป็นนักการเมืองที่ท้าทายอำนาจรัฐ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านตามกติกาในระบบรัฐสภา ทำให้มีความโดดเด่นในสภาผู้แทนราษฎร เป็นที่ยอมรับของเพื่อนสมาชิก แต่เป็นที่ลำปากใจแก่รัฐบาล ในสมัยต่อมานายจำลอง ดาวเรือง ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีติดต่อกัน 4 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 - 2490
จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร ในปี พ.ศ. 2490 เป็นผลให้บทบาททางการเมืองของนายจำลอง ดาวเรือง ยุติลง โดยถูกจับกุมในข้อหากบฎ และถูกสังหารอย่างทารุณ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2492 ดังที่ปรากฏในเรื่อง " การสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรี" ที่เป็นความทรงจำของผู้คนทั่วประเทศ มาจนถึงปัจจุบันนี้
http://kanchanapisek.or.th/oncc-cgi/text.cgi?no=15880
อ้างอิงจาก
ธีรวัฒน์ ประนัดสุดจ่า. แนวความคิดทางการเมืองของเมืองของจำลอง ดาวเรืองวิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. 2542 หัด ดาวเรือง. ชีวิตและงานของสิ่งอดีตรัฐมนตรี. พระนคร. อักษรสาสน์. 2508

นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์
นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เป็นนักการเมือง ภาคอีสาน จังหวัดอุบลราชธานี ผู้เป็นที่รู้จักกันดีในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ในกรณี "พระราชบัญญัติปักป้ายข้าวเหนียว" ต่อมาได้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาล นายปรีดี พนมยงค์
นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เป็น 1 ใน 4 อดีตรัฐมนตรีที่ถูกสังหารโหด ที่ ทุ่งบางเขน เมื่อปี พ.ศ. 2492 ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ด้วยสาเหตุทางการเมือง ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น นักการเมืองผู้ต่อสู้เพื่อชาวอิสานอย่างแท้จริงคนหนึ่ง
นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 ที่บ้านหนองยาง ตำบลหัวเรือ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี มีคู่สมรส 1 คน คือเจ้าศิริบังอร ณ จำปาศักดิ์ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ จึงมีความเกี่ยวดองเป็นเขยของตระกูลเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ ในประเทศลาวด้วย (อ่านเพิ่มที่)

...............................................................................................................................................................


นายถวิล อุดล
นายถวิลดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดร้อยเอ็ด 2 สมัย เป็นหัวหน้าเสรีไทย จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเคยเดินทางไปติดต่อขอความร่วมมือจาก ประเทศจีน แนวคิดทางการเมืองที่สำคัญ คือ เงินภาษีที่เก็บจากประชาชน ต้องเป็นประโยชน์กลับคืนสู่ประชาชนทั้งหมด
นายถวิล อุดล เสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2492 หลังเหตุการณ์กบฏแบ่งแยกดินแดน โดยถูกจับกุมพร้อมกับ อดีตรัฐมนตรีอีสานอีก 3 คน คือ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายจำลอง ดาวเรือง และนายทองเปลว ชลภูมิ และถูกนำตัวไปที่บริเวณ ทุ่งบางเขน ถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 11 โดย กรมตำรวจ ในเวลานั้นอ้างเหตุว่า มีโจรคอมมิวนิสต์มลายู มาชิงตัว 4 อดีตรัฐมนตรี และเกิดการต่อสู้ขึ้น จนทำให้ทั้ง 4 คน ถูกลูกหลงเสียชีวิตทั้งหมด แต่ไม่ใคร่จะมีใครเชื่อข้ออ้างดังกล่าวนัก เนื่องจากไม่มีตำรวจเสียชีวิตหรือบาดเจ็บแม้แต่รายเดียว

..............................................................................................................................................................
ดร.ทองเปลว ชลภูมิเป็น สส.นครนายก



http://www.lek-prapai.org/porpeang_view.php?week=20



ส่วน(อดีตรัฐมนตรี และเป็นคณะราษฎรด้วย)
แต่ถูกนำตัวไปสังหาร พร้อมกับ
นายจำลอง ดาวเรือง
นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์
นายถวิล อุดล
ในปีพศ.2492 เหตุการณ์ครั้งนี้ 4คน

ส่วนนายเตียง ศิริขันธ์ โดนสังหารในปี 2495 3ปีถัดมา

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (สมัยกรุงศรีอยุธยา - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2342) หรือพระนามเดิมว่า สา พระธิดาองค์โตในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ประสูติจากพระอัครมเหสี (หยก) ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นพระพี่นางพระองค์โตในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี ทรงสถาปนาท่านขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี
เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี เสกสมรสกับ หม่อมเสม ที่พระอินทรรักษา เจ้ากรมตำรวจใหญ่ซ้าย ฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคล มีพระโอรส-ธิดา คือ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1 เมื่อวันศุกร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 12 ปีมะแม จ.ศ. 1161 ตรงกับ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2342 พระชันษา 70 ปีเศษ ถวายพระเพลิงพระศพ เมื่อข้างขึ้น เดือน 6 พ.ศ. 2343 [1]

 

อ้างอิง

http://th.wikipedia.org/wiki

^ หม่อมราชวงศ์ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี, บรรณกิจ, 2549, ISBN 974-221-818-8

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ขุนพันธรักษ์ราชเดช

ประวัติโดยย่อของ ขุนพันธรักษ์ราชเดช

                   พลตำรวจ ตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช อดีตผู้บังคับการตำรวจภูธร เขต 8 เป็นนายตำรวจชาวเมืองนครศรีธรรมราช ที่ได้สร้างเกียรติประวัติในตำแหน่งหน้าที่ จนเป็นที่รู้จักและยอมรับกันทั่วไปในภาคใต้ และในจังหวัดอื่นๆ ที่ท่านไปดำรงตำแหน่งอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝีมือในการปราบปรามโจรผู้ร้าย นอกจากนั้นท่านยังเป็นผู้สนใจวิชาการทั่วไป โดยสนใจทางด้านประวัติศาสตร์คติชนวิทยาและไสยศาสตร์เป็นพิเศษ มีข้อเขียนปรากฏอยู่ในหนังสือ และวารสารต่างๆ หลายเรื่อง ปัจจุบันคนทั่วไปนิยมเรียกท่านสั้นๆ ว่า " ท่านขุน "

                   ที่จังหวัดพิจิตร ท่านขุนพันธ์ ท่านได้เครื่องรางของขลังไปจำนวนหลายอย่างด้วยกัน และ หนึ่งในจำนวนเครื่องรางของขลังที่น่าสนใจอีกอย่างนั่นก็คือ ดาบเหล็กน้ำพี้ ที่ได้สร้างชื่อเสียงให้แด่ท่านขุนพันธ์ เป็นอย่างมาก จนได้รับฉายาว่า มือปราบดาบแดง เรื่องราวความเป็นมาของดาบแดงนี้ มีความน่าสนใจมาก ลองเข้ามาติดตามข้อมูลที่น่าสนใจนี้ กันดูซิคะ ว่าดาบเล่มนี้ มีความเป็นมาอย่างไรบ้าง...
ประเด็นที่น่าสนใจ ของดาบแดงหรือดาบเหล็กน้ำพี้ เล่มนี้ ที่ชวนติดตามคือ
ประการแรก ดาบเล่มนี้เป็นของพระยาพิชัยหรือไม่

ประการที่สองเป็นดาบคู่ที่ใช้รบ หรือดาบเดี่ยวที่ใช้ถือ

ประการที่สาม ใครเป็นผู้ปลุกเสกและลงอาคมในดาบ

ประการที่สี่ ท่านขุนพันธ์ ท่านได้รับดาบเล่มนี้มาจากใคร และมีจำนวน กี่เล่มกันแน่

และประการสุดท้าย เจาะลึกเรื่องเหล็กน้ำพี้ มีพลังอำนาจเร้นลับ ในการนำมาสร้างดาบ อย่างไรบ้าง

ที่มาของการเรียกดาบเหล็กน้ำพี้ นี้ว่าดาบแดง มาจากการที่ท่านขุนพันธ์เห็นว่าดาบเหล็กน้ำพี้ เป็นดาบศักดิ์สิทธิ์ จึงนำผ้าแดง มาเย็บเป็นถุง หรือซองผ้า สวมทับดาบ ไว้อีกชั้น 

             หากไม่จำเป็นท่านก็จะไม่นำดาบออกมาจากซองผ้าสีแดง อีกทั้งเป็นการป้องกันสิ่งสกปรก ที่ไม่ควรให้เกิดแก่ดาบอาคม ซึ่งท่านอาจจะเผลอเรอ นำไปวางไว้ที่ใดที่หนึ่ง โดยไม่ตั้งใจ
สาเหตุที่ใช้ผ้าสีแดงนั้น มีผู้รู้ได้อธิบายไว้ว่า หากเราต้องการเพิ่มความเข้มขลัง ให้กับเครื่องรางของขลัง
          ตามตำราในอาถรรพเวท ของอินเดียโบราณจะใช้ผ้าสีแดงเป็นหลัก อาจจะใช้สีขาวบ้าง สุดแท้แต่ว่าเครื่องราง ของขลังนั้นจะเป็นอะไร เราจะเห็นว่า แม้แต่ผ้ายันต์ หรือเสื้อยันต์ก็นิยม ใช้ผ้าสีแดง

             สำหรับผ้าสีเหลือง ที่นิยมนำมาใช้ในตอนหลังนั้น น่าจะมาจาก ความเชื่อตามคตินิยม ของชาวพุทธที่ว่าสีเหลือง เป็นสีของธงชัยพระอรหันต์

            สำหรับประเด็นแรกที่ว่า ดาบแดงนี้ เป็นดาบ ของพระยาพิชัยดาบหักหรือไม่ ..เรื่อง นี้ มีผู้ตั้งข้อสังเกตุว่า จากข้อมูลที่ตรงกัน ท่านขุนพันธ์ ได้ให้สัมภาษณ์กับบุคคลหลายท่านว่า ดาบนี้เป็นดาบ ที่ท่านได้รับมาจาก หลวงกล้า กลางณรงค์ ที่เดินทางมารับราชการที่พิจิตร ในสมัยเดียวกับท่านขุนพันธ์

โดยท่านขุนพันธ์ ได้ฝากตัวเป็นบุตรบุญธรรมกับหลวงกล้า กลางณรงค์
ก่อนที่หลวงกล้า ท่านจะมอบดาบแดง หรือดาบเหล็กน้ำพี้ ซึ่งเป็นดาบประจำตระกูล เล่มนี้ ให้กับท่านขุนพันธ์ไว้เป็นที่ระลึก ซึ่งตามธรรมเนียมโบราณหากใครเป็นลูกบุญธรรม ผู้เป็นพ่อก็จะมอบของสำคัญของตน ตามความเหมาะสม ของฐานะ ของผู้ให้ และผู้รับ
          และจากการสืบข้อมูล หลวงกล้า กลางณรงค์ผู้นี้ ท่านเป็นผู้สืบเชื้อสาย มาจากต้นตระกูล ของพระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรรดิตถ์
โดยมีตระกูลเดิมว่า วิชัยขัขันทคะ

ซึ่งเป็นนามสกุลที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่6 ที่พระราชทานให้กับ ผู้ที่สืบเชื้อสาย ของพระยาพิชัย
หากเป็นดังนี้จริง ดาบแดงก็น่าจะเป็นดาบของพระยาพิชัยดาบหัก แน่นอน

          ประเด็นที่สองที่ว่า ดาบแดงเป็นดาบคู่ หรือดาบเดี่ยว จากข้อมูลที่สืบค้นจากจังหวัดพิจิตร และมีบุคคลยืนยันว่าดาบแดงเล่มนี้ เป็นดาบเหล็กน้ำพี้จริง แต่เป็นดาบเดี่ยว หรือดาบเล่มเดียวเท่านั้น ไม่ใช่ดาบคู่ อย่างที่เข้าใจกัน
         ดาบเหล็กน้ำพี้ของแท้นั้นจะไม่เป็น สนิมง่าย และถ้าจะให้ดี ต้องใช้ดาบสะกิด ดื่มเลือดผู้ที่เป็นเจ้าของก่อน เป็นเคล็ดที่ทำให้ดาบ มีความเข้มขลัง เมื่อออกศึกมามากเท่าใด ก็จะทำให้สีของดาบ มีสีเข้มข้นมากขึ้นเท่านั้น เป็นสีเขียวคล้ำ คมวาว เป็นสีน้ำตาลอมดำฝังแน่น บาง ทีเรียกว่าสีปีกแมลงทับ ใครที่จับดาบน้ำพี้แล้วจะฮึกเหิม อยากจะใช้งาน หรือออกศึกเป็นอาวุธที่ทรงพลังมากแม้แต่ นักรบของอยุธยาก็ยังใฝ่หาดาบที่สร้างจากเหล็กน้ำพี้ เพราะไม่เพียงใช้เป็นอาวุธ ยังสามารถ ใช้เป็นเครื่องรางได้ด้วย
         หากเวลามีภัยมาถึงตัว ดาบจะสั่น หรือบางทีขยับ เลื่อนออกจากฝัก บอกให้เจ้าของรู้ตัว การตีดาบ ต้องกระทำกลางแจ้ง และเนื่องจากอณูมวลสาร ของดาบเหล็กน้ำพี้โดยธรรมชาติ จะขยับหนี หรือแยกตัวออกในขณะที่โดนความร้อน ดังนั้นผู้ตีดาบ จึงต้องมีคาถาอาคมกำกับ มิฉะนั้นจะตีดาบ ทำดาบไม่สำเร็จ

       ประการสำคัญบ้างก็ว่าดาบเหล็กน้ำพี้ของพ่อหลิม หรือเสือไท ได้มอบให้แก่ลูกศิษย์คนสำคัญคนหนึ่งไปแล้ว แต่จะเป็นท่านขุนพันธ์หรือไม่ไม่มีใครทราบ

จึงทำให้ยังไม่แน่ใจด้วยว่าดาบของท่านขุนพันธ์นี้เป็นของหลวงกล้ากลางณรงค์ หรือ พ่อหลิมอาจารญของท่านขุนพันธ์กันแน่

               และประการสุดท้าย ใครเป็นผู้ปลุกเสกดาบลงอาคมให้ท่านขุนพันธ์ ในสมัยที่อยู่ที่จังหวัดพิจิตร หลวงตาแวว ลูกศิษ์ ก้นกุฎิ ของหลวงปู่ศุข ท่านเป็นผู้ปลุกเสกเครื่องรางของขลังต่างๆ ให้แด่ท่านขุนพันธ์

               แต่คุณฉันทิพย์ ลูกสาวของท่านขุนพันธ์ ได้เล่าไว้ว่า สมัยที่ท่านขุนพันธ์ท่านมีชีวิตอยู่ ท่านเล่าไว้ว่า ท่านผู้ที่ปลุกเสกดาบให้ท่านขุนพันธ์ คือ พระสงฆ์รูปหนึ่ง ซึ่งมีศักดิ์เป็นญาติผู้น้อง ของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

               ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ ดาบเหล็กน้ำพี้ ซึ่ง เข้าใจว่าน่าจะเป็นดาบของพระยาพิชัยนี้ ก็จะได้ผ่านการปลุกเสกมาถึงสองครั้ง จากสองเกจิอาจารย์ ผู้เป็นลูกศิษย์ ของหลวงปู่ศุขดังที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งไม่ใช่การปลุกเสกของหลวงปู่ศุขเองแน่นอน เพราะท่านได้มรณะภาพไปก่อน นานแล้ว..


จมื่นไวยวรนารถ, pigrock

http://www.infoforthai.com/forum/topic/11103

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ตนกูอับดูลกาเดร กามารุดดิน

 
 
นโยบาย “แบ่งแยกแล้วปกครอง” เป็นกลยุทธ์ที่ถูกนำมาใช้
 
หัวเมืองส่วนนี้ถูกแบ่งออกเป็นหัวเมืองเล็ก ๆ ย่อย ๆ เรียกว่า “เจ็ดหัวเมือง”ได้แก่
  1. สายบุรี (คอลุบัน),
  2. ปัตตานี,
  3. หนองจิก,
  4. ยุลา,
  5. ยะหริ่ง(ยามู),
  6. ระแงะ(ตันหยงมาส)
  7. ราห์มัน
ผู้ปกครองเมืองจำนวน 2 คนถูกแต่งตั้งไปจากส่วนกลางโดยตรง
 
ผู้ปกครองเมืองที่รัฐบาลสยามตั้งขึ้นไม่ได้มีเชื้อสายเจ้ามืองเก่าตามประเพณีการปกครองที่ควรจะเป็น มิหนำซ้ำบางคนเคยเป็นคนเลี้ยงวัวมาก่อน เจ้ามืองที่ตั้งขึ้นมาใหม่ก็เลยขัดแย้งกับเชื้อสายเจ้าเมืองเก่า มีการให้ร้ายป้ายสีเจ้าเมืองแท้ ๆ ของปัตตานี
 
http://www.kpi.ac.th/wiki/index.php/%E0%B8%82%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89

กษัตริย์องค์แรกที่ทรงผนวชขณะที่ยังทรงครองราชย์อยู่ และเลิกการแผ่อำนาจในการปกครอง มาใช้หลักพุทธธรรม (ธรรมราชา)


พระเจ้าอโศกมหาราช (เทวนาครี: अशोकः, อังกฤษ: Ashoka the Great; พ.ศ. 240 - พ.ศ. 312 ครองราชย์ พ.ศ. 270 - พ.ศ. 311) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมริยะ ผู้ปรีชาสามารถพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ ทรงปกครองแคว้นมคธ มีพระราชธานีชื่อว่า ปาฏลีบุตร (ปัจจุบันเรียกว่า ปัฏนะ Patna) ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าพินทุสารแห่งราชวงศ์โมริยะ พระมารดานามว่าศิริธรรม พระเจ้าอโศกมีพระโอรส และธิดา 11 พระองค์
พระเจ้าอโศกมหาราช กับพระพุทธศาสนา
ก่อนที่จะเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา มีความดุร้ายและโหดเหี้ยมเป็นอย่างยิ่ง จนได้รับฉายาว่า จัณฑาโศก แปลว่าอโศกผู้ดุร้าย ต่อมาเมื่อไปรบที่แคว้นกาลิงคะ (ปัจจุบันอยู่รัฐโอริสสา) มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก จึงเกิดความสลดสังเวชในบาปกรรม และตั้งใจแสวงหาสัจธรรมและพบนิโครธสามเณรที่มีกิริยามารยาทสงบเรียบร้อย จึงทรงนิมนต์พระนิโครธโปรดแสดงธรรม พระนิโครธก็แสดงธรรม จึงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ต่อมาได้ฟังพระธรรมจากพระสมุทระเถระทรงส่งกระแสจิตตามพระธรรมเทศนาจนเข้าถึงพระรัตนตรัย พระองค์ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา เช่น ทรงสร้างวัด วิหาร พระสถูป พระเจดีย์ หลักศิลาจารึก มหาวิทยาลัยนาลันทา ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงผนวชขณะที่ยังทรงครองราชย์อยู่ และเลิกการแผ่อำนาจในการปกครอง มาใช้หลักพุทธธรรม (ธรรมราชา) ปกครอง นอกจากนี้พระเจ้าอโศกมหาราชยังทรงส่งสมณะทูตไปเผยแพร่ศาสนา โดยแบ่งเป็น 9 สาย สายที่ 8 มาเผยแพร่ที่ สุวรรณภูมิ โดยพระโสณะและพระอุตระเป็นสมณะทูต และพระองค์เป็นผู้จัดการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่3 ณ วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร
ต่อมาก็ทรงโปรดเกล้าให้สร้างบ่อน้ำ ที่พักคนเดินทาง โรงพยาบาล และปลูกต้นไม้ เพื่อจัดสาธารณูปโภคและสาธารณ ตามหลักพุทธธรรม ต่อจากนั้นก็เสด็จไปพบสังเวชนียสถาน4แห่ง เป็นผู้แรก และทรงสถาปนาให้เป็นเป็นสถานที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนในเวลาต่อมา นับว่าพระองค์เป็นอัครศาสนูปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และต่อมาพระองค์ทรงได้สมญานามว่า ธรรมมาอโศก แปลว่า อโศกผู้ทรงธรรม ทรงครองราชย์ได้41ปี

รัฐศาสนโยบาย
ด้วยทรงถือหลักธรรมวิชัยปกครองแผ่นดินโดยธรรม ยึดเอาประโยชน์สุขของพสกนิกรของพระองค์เป็นที่ตั้ง ทรงส่งเสริมสารธารณูปการ และประชาสงเคราะห์ ทรงทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในชมพูทวีปอย่างกว้างขวาง ได้เป็นบ่อเกิดอารยธรรมที่มั่งคงไพศาล อนุชนได้เรียกขานพระนามของพระองค์ด้วยความเคารพเทอดทูน ยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์หลายองค์ที่พิชิตนานาประเทศด้วยสงคราม แม้พระนามของพระองค์ก็ปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน





เผยแผ่-เผยแพร่


คำว่า เผยแพร่ กับ เผยแผ่ เป็นคำที่มีเสียงใกล้กัน

 ความหมายก็ใกล้เคียงกัน. เผยแผ่ เป็นคำเก่า หมายถึง ขยายออกไป หรือ ทำให้ขยายออกไป เช่น พระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา, หมายความว่า ทรงขยายลัทธิ ความเชื่อ ออกไปด้วยการยกเอาลักษณะของสิ่งนั้นมาเผยให้เห็นตามที่เป็นจริง.
ส่วน เผยแพร่ ก็มีความหมายว่า ทำให้ขยายออกไป ทำให้แพร่หลายด้วยการกระจายข่าวสารไปสู่ผู้รับให้มากที่สุด ใช้ได้กว้างกว่า เผยแผ่, เช่น เผยแพร่ข่าว, เผยแพร่ความรู้, เผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศให้เป็นที่รู้จักในประชาคมโลก, เผยแพร่สินค้าไปสู่มวลชน.

ผู้เขียน ศ. ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน

ปณิธานแห่งบิดาการแพทย์ไทยความสำเร็จมิใช่อยู่ที่การเรียนรู้เท่านั้น หากแต่เป็นการนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์


“อาชีพแพทย์นั้นมีเกียรติ แพทย์ที่ดีจะไม่ร่ำรวย แต่ก็ไม่อดตาย
ถ้าใครอยากร่ำรวย ก็ควรเป็นอย่างอื่นไม่ใช่แพทย์
อาชีพแพทย์นั้นจำต้องยึดมั่นในอุดมคติ เมตตากรุณาคุณ”
พระอนุศาส์นของสมเด็จพระบรมราชชนก

“ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตน เป็นที่สอง
ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ เป็นกิจที่หนึ่ง
ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ จะตกแก่ท่านเอง
ถ้าท่านทรงธรรมมะแห่งอาชีพ ไว้ให้บริสุทธิ์”

I do not want you to be only a Doctor, but l also want you to be a Man

“True success is not in the learning, but in its application to the benefit of mankind”
(ความสำเร็จมิใช่อยู่ที่การเรียนรู้เท่านั้น หากแต่เป็นการนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์)


ปณิธาน
[ปะ-] น. ประณิธาน. (ป.; ส. ปฺรณิธาน).
คำนาม
wishความประสงค์, ความปรารถนา, คำอธิษฐาน, ปณิธาน, ราชประสงค์, คำขอให้
determinationการกำหนด, ความตั้งใจ, การวัด, ปณิธาน, ความแน่นอน, การตกลงใจ
resolutionปณิธาน, ข้อยุติ, ความแน่วแน่, ความเด็ดเดี่ยว, การยืนหยัด, การตัดสินใจแล้ว
aspirationความทะเยอทะยาน, ความปรารถนา, ปณิธาน, ความใฝ่ฝัน, ความมุ่งมาดปรารถนา, มโนรถ
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%A8%E0%B8%A3_%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1_%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%81

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โลโก้และสโลแกน

แนวทางการสร้างคำขวัญที่ยอดเยี่ยม
  1. Identification. A good slogan must stay consistent with the brand name either obviously stated or strongly implied. ระบุ. สโลแกนที่ดีต้องอยู่ที่สอดคล้องกับชื่อแบรนด์ทั้งที่ระบุไว้ชัดแจ้งหรือโดยนัยอย่างยิ่ง It's better to include the name of your business to it. จะดีกว่าที่จะรวมชื่อของธุรกิจของคุณไป
  2. Memorable. Some of the best taglines or slogans are still being used today, even though they were launched several years ago. ที่น่าจดจำ. บาง taglines ที่ดีที่สุดหรือคำขวัญยังคงถูกใช้ในวันนี้แม้ว่าจะมีการเปิดตัวในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
  3. Beneficial. Reveal your purpose and benefits of the product by conveying the message in consumer language. ประโยชน์. เปิดเผยจุดประสงค์และประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ของคุณโดยการสื่อข้อความในภาษาของผู้บริโภค Turn bad into good. เปิดเลวเป็นดี Suggest the risk of not using the product. แนะนำความเสี่ยงจากการไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ Create a positive feeling for the consumers. สร้างความรู้สึกที่ดีสำหรับผู้บริโภค
  4. Differentiation. In an overcrowded market, companies on the same industry need to set themselves apart thru their creative and original tagline or slogan. แตกต่าง. ในตลาดแออัด บริษัท ในอุตสาหกรรมเดียวกันจะต้องกำหนดตัวเองออกจากกันถึงความคิดสร้างสรรค์และสโลแกนเดิมหรือสโลแกนของพวกเขา
  5. Keep it simple. Use proven words and short keywords. ให้มันง่าย. ใช้คำพูดที่พิสูจน์และคำหลักที่สั้น One word is usually not enough. หนึ่งคำนี้มักจะไม่เพียงพอ

ฉันพลาดอะไร




















Soulda - ความจริงที่ฉันกลัว
คำร้อง/ทำนอง ปฏิเวธ อุทัยเฉลิม
เรียบเรียง สืบสกุล สืบสหการ


ฉันไม่รู้ว่าฉันพลาดอะไร
ขอให้เธอได้บอกกับฉันให้เข้าใจ
ฉันไม่รู้ว่าฉันพลาดสิ่งใด
แต่ที่รู้ คือเธอจะไป ใช่ไหม

หัวใจมันเพียงต้องการ คำอธิบาย
แม้ใจยืนยันว่ามัน ขาดเธอไม่ได้
แต่อย่าให้ฉันสงสัย ให้ฉันคิด จนจะบ้าตาย

ถ้าอยากจะไปให้ฉันยังพอที่จะรู้ตัว
อย่าทำให้ใคร หน้ามืดตามัว
อยู่กับคำถามว่าเราจบกันเรื่องใด
แค่อยากจะฟังให้รู้ตัว
ความเป็นจริงที่ฉันเคยกลัว
แต่วันนี้ยินดีจะฟัง เธอเลิกเพราะอะไร

แม้ว่าฉันนั้นอ้อนวอนเท่าไหร่
เธอก็คงไม่อยู่ตรงนี้ฉันมั่นใจ
ถือว่าฉันขอร้องครั้งสุดท้าย
ตอบได้ไหม ก่อนใจจะโดนทำร้าย

หัวใจมันเพียงต้องการ คำอธิบาย
แม้ใจยืนยันว่ามัน ขาดเธอไม่ได้
แต่อย่าให้ฉันสงสัย ให้ฉันคิด จนจะบ้าตาย

ถ้าอยากจะไปให้ฉันยังพอที่จะรู้ตัว
อย่าทำให้ใคร หน้ามืดตามัว
อยู่กับคำถามว่าเราจบกันเรื่องใด
แค่อยากจะฟังให้รู้ตัว
ความเป็นจริงที่ฉันเคยกลัว
แต่วันนี้ยินดีจะฟัง เธอเลิกเพราะอะไร

ถ้าอยากจะไปให้ฉันยังพอที่จะรู้ตัว
อย่าทำให้ใคร หน้ามืดตามัว
อยู่กับคำถามว่าเราจบกันเรื่องใด
แค่อยากจะฟังให้รู้ตัว
ความจริงที่ฉันเคยกลัว
แต่วันนี้ยินดีจะฟัง เธอเลิกเพราะอะไร