วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คดีสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรีอีสาน พ.ศ. 2492

บันทึกของ คดีสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรีอีสาน พ.ศ. 2492

  • ใน 4 อดีตรัฐมนตรีอีสานมี
  • นายเตียง ศิริขันธ์

















..............................................




นายจำลอง ดาวเรือง


ชื่อ นายจำลอง ดาวเรือง นายจำลอง ดาวเรือง เกิดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2453 ที่บ้านงัวบา ตำบลงัวบา อำเภอวาปีปทุม เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายมา และนางสอน ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 6 คน ครอบครัวอยู่ในฐานะยากจน มีอาชีพทำนา อายุ 7 ปี ได้เข้าเรียนในโรงเรียนประชาบาลวัดบ้านงัวบา โดยอาศัยศาลาวัดเป็นสถานที่เรียน พอถึงชั้นประถมปีที่ 3 ศึกษาธิการอำเภอวาปีปทุม (เช็ค เยาวสุต) ได้ชักนำให้ไปเรียนต่อที่อำเภอวาปีปทุม จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก แขก (ตอนเด็ก ๆ หน้าตาคล้ายแขก ตาโต จมูกโต คิ้วดก แขนขายาว ผิดจากพี่น้องด้วยกัน จึงถูกเรียกว่าแขก) เป็นจำลอง
ต่อมานายจำลอง ดาวเรือง ได้ไปเรียนต่อที่โรงเรียนสารคามพิทยาคม ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด ขณะนั้นตั้งอยู่วัดโพธิ์ศรี จำลองเป็นคนเรียนเก่ง จบชั้นประถมศึกษาในปี พ.ศ. 2464 และได้เข้าเรียนต่อชั้นมัธยมปีที่ 1 ที่โรงเรียนสารคามพิทยาคม (ซึ่งช่วงนั้นย้ายมาตั้งที่สถานที่ปัจจุบัน) มีเพื่อนร่วมรุ่นและเป็นคู่แข่งทางการเรียนกันมาตลอดคือ นายบุญถิ่น อัตถากร
จบชั้นมัธยมปีที่ 3 จากโรงเรียนสารคามพิทยาคม ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนแล้ว ได้ไปเรียนที่โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย จบชั้นมัธยมปีที่ 5 ในปี พ.ศ. 2468 ไม่ได้เรียนต่อเพราะไม่มีทุนทรัพย์
หลวงพิสิษฐ์ เกษมสวัสดิ์ (เจ๊กหยงนี) เจ้าของรถยนต์โดยสารเห็นว่าจำลองเป็นคนเรียนเก่ง ความประพฤติดี รักการกีฬาและเครื่องยนต์ จึงออกค่าใช้จ่ายให้จำลองไปเรียนช่างกลที่กรุงเทพมหานคร
ต่อมาจำลอง ดาวเรือง ได้สมัครเป็นครูประชาบาล ที่อำเภอวาปีปทุม แล้วลาออกมาตั้งโรงเรียนราษฎร์ขึ้นที่อำเภอวาปีปทุม ชื่อโรงเรียนเรืองวิทยา เมื่อ พ.ศ. 2480 นับเป็นโรงเรียนราษฎร์แห่งแรกของจังหวัดมหาสารคาม นายจำลอง ดาวเรืองเป็นผู้จัดการ แล้วเปิดอบรมชุดครูให้กับครูประชาบาล ทำให้มีคนรู้จักมาก
นายจำลอง ดาวเรือง ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร จังหวัดมหาสารคาม 3 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 - 2490 มีแนวคิดท้องถิ่นนิยม ต้องการให้มีการกระจายอำนาจลงสู่ชนบทเป็นหลัก แนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกับ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ (ส.ส. อุบลราชธานี) นายถวิล อุดล (ส.ส ร้อยเอ็ด) และนายเตียง ศิริขันธ์ (ส.ส สกลนคร) กลุ่มนี้เป็นฝ่ายค้านและผลักดันให้กลุ่มผู้แทนราษฎรภาคอีสานเคลื่อนไหวคัดค้านนโยบายรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้รัฐบาลตัดสินใจยุบสภา ในปี พ.ศ. 2481
นอกจากนั้นยังมีแนวคิดเสรีนิยมมุ่งต่อต้านเผด็จการทหาร โดยรวมกลุ่มกับนายปรีดี พนมยงค์ นายเลียง ไชยกาล พระสารคามคณาภิบาล นายทองม้วน อัตถากร นายทองดี ณ กาฬสินธุ์ ฯลฯ ต่อมาได้ร่วมกันตั้งพรรคการเมืองชื่อ "พรรคสหชีพ" โดยนโยบายพรรคยึดถือเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์
การทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎร ได้ตั้งกระทู้ถามรัฐบาลหลายเรื่อง เช่นการเก็บภาษีอากรค่านาในภาคอีสาน การไปตรวจราชการของรัฐมนตรี การศึกษา การกินสินบนของข้าราชการ ฯลฯ
ได้ร่วมกันออกหนังสือพิมพ์ราย 10 วัน ชื่อ "สยามอุโฆษ" ในปี พ.ศ. 2480 นายเตียง ศิริขันธ์เป็นบรรณาธิการ
นายจำลอง ดาวเรือง เป็นนักการเมืองที่ท้าทายอำนาจรัฐ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านตามกติกาในระบบรัฐสภา ทำให้มีความโดดเด่นในสภาผู้แทนราษฎร เป็นที่ยอมรับของเพื่อนสมาชิก แต่เป็นที่ลำปากใจแก่รัฐบาล ในสมัยต่อมานายจำลอง ดาวเรือง ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีติดต่อกัน 4 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 - 2490
จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร ในปี พ.ศ. 2490 เป็นผลให้บทบาททางการเมืองของนายจำลอง ดาวเรือง ยุติลง โดยถูกจับกุมในข้อหากบฎ และถูกสังหารอย่างทารุณ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2492 ดังที่ปรากฏในเรื่อง " การสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรี" ที่เป็นความทรงจำของผู้คนทั่วประเทศ มาจนถึงปัจจุบันนี้
http://kanchanapisek.or.th/oncc-cgi/text.cgi?no=15880
อ้างอิงจาก
ธีรวัฒน์ ประนัดสุดจ่า. แนวความคิดทางการเมืองของเมืองของจำลอง ดาวเรืองวิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. 2542 หัด ดาวเรือง. ชีวิตและงานของสิ่งอดีตรัฐมนตรี. พระนคร. อักษรสาสน์. 2508

นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์
นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เป็นนักการเมือง ภาคอีสาน จังหวัดอุบลราชธานี ผู้เป็นที่รู้จักกันดีในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ในกรณี "พระราชบัญญัติปักป้ายข้าวเหนียว" ต่อมาได้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาล นายปรีดี พนมยงค์
นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เป็น 1 ใน 4 อดีตรัฐมนตรีที่ถูกสังหารโหด ที่ ทุ่งบางเขน เมื่อปี พ.ศ. 2492 ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ด้วยสาเหตุทางการเมือง ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น นักการเมืองผู้ต่อสู้เพื่อชาวอิสานอย่างแท้จริงคนหนึ่ง
นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 ที่บ้านหนองยาง ตำบลหัวเรือ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี มีคู่สมรส 1 คน คือเจ้าศิริบังอร ณ จำปาศักดิ์ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ จึงมีความเกี่ยวดองเป็นเขยของตระกูลเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ ในประเทศลาวด้วย (อ่านเพิ่มที่)

...............................................................................................................................................................


นายถวิล อุดล
นายถวิลดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดร้อยเอ็ด 2 สมัย เป็นหัวหน้าเสรีไทย จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเคยเดินทางไปติดต่อขอความร่วมมือจาก ประเทศจีน แนวคิดทางการเมืองที่สำคัญ คือ เงินภาษีที่เก็บจากประชาชน ต้องเป็นประโยชน์กลับคืนสู่ประชาชนทั้งหมด
นายถวิล อุดล เสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2492 หลังเหตุการณ์กบฏแบ่งแยกดินแดน โดยถูกจับกุมพร้อมกับ อดีตรัฐมนตรีอีสานอีก 3 คน คือ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายจำลอง ดาวเรือง และนายทองเปลว ชลภูมิ และถูกนำตัวไปที่บริเวณ ทุ่งบางเขน ถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 11 โดย กรมตำรวจ ในเวลานั้นอ้างเหตุว่า มีโจรคอมมิวนิสต์มลายู มาชิงตัว 4 อดีตรัฐมนตรี และเกิดการต่อสู้ขึ้น จนทำให้ทั้ง 4 คน ถูกลูกหลงเสียชีวิตทั้งหมด แต่ไม่ใคร่จะมีใครเชื่อข้ออ้างดังกล่าวนัก เนื่องจากไม่มีตำรวจเสียชีวิตหรือบาดเจ็บแม้แต่รายเดียว

..............................................................................................................................................................
ดร.ทองเปลว ชลภูมิเป็น สส.นครนายก



http://www.lek-prapai.org/porpeang_view.php?week=20



ส่วน(อดีตรัฐมนตรี และเป็นคณะราษฎรด้วย)
แต่ถูกนำตัวไปสังหาร พร้อมกับ
นายจำลอง ดาวเรือง
นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์
นายถวิล อุดล
ในปีพศ.2492 เหตุการณ์ครั้งนี้ 4คน

ส่วนนายเตียง ศิริขันธ์ โดนสังหารในปี 2495 3ปีถัดมา

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (สมัยกรุงศรีอยุธยา - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2342) หรือพระนามเดิมว่า สา พระธิดาองค์โตในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ประสูติจากพระอัครมเหสี (หยก) ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นพระพี่นางพระองค์โตในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี ทรงสถาปนาท่านขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี
เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี เสกสมรสกับ หม่อมเสม ที่พระอินทรรักษา เจ้ากรมตำรวจใหญ่ซ้าย ฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคล มีพระโอรส-ธิดา คือ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1 เมื่อวันศุกร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 12 ปีมะแม จ.ศ. 1161 ตรงกับ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2342 พระชันษา 70 ปีเศษ ถวายพระเพลิงพระศพ เมื่อข้างขึ้น เดือน 6 พ.ศ. 2343 [1]

 

อ้างอิง

http://th.wikipedia.org/wiki

^ หม่อมราชวงศ์ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี, บรรณกิจ, 2549, ISBN 974-221-818-8

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ขุนพันธรักษ์ราชเดช

ประวัติโดยย่อของ ขุนพันธรักษ์ราชเดช

                   พลตำรวจ ตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช อดีตผู้บังคับการตำรวจภูธร เขต 8 เป็นนายตำรวจชาวเมืองนครศรีธรรมราช ที่ได้สร้างเกียรติประวัติในตำแหน่งหน้าที่ จนเป็นที่รู้จักและยอมรับกันทั่วไปในภาคใต้ และในจังหวัดอื่นๆ ที่ท่านไปดำรงตำแหน่งอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝีมือในการปราบปรามโจรผู้ร้าย นอกจากนั้นท่านยังเป็นผู้สนใจวิชาการทั่วไป โดยสนใจทางด้านประวัติศาสตร์คติชนวิทยาและไสยศาสตร์เป็นพิเศษ มีข้อเขียนปรากฏอยู่ในหนังสือ และวารสารต่างๆ หลายเรื่อง ปัจจุบันคนทั่วไปนิยมเรียกท่านสั้นๆ ว่า " ท่านขุน "

                   ที่จังหวัดพิจิตร ท่านขุนพันธ์ ท่านได้เครื่องรางของขลังไปจำนวนหลายอย่างด้วยกัน และ หนึ่งในจำนวนเครื่องรางของขลังที่น่าสนใจอีกอย่างนั่นก็คือ ดาบเหล็กน้ำพี้ ที่ได้สร้างชื่อเสียงให้แด่ท่านขุนพันธ์ เป็นอย่างมาก จนได้รับฉายาว่า มือปราบดาบแดง เรื่องราวความเป็นมาของดาบแดงนี้ มีความน่าสนใจมาก ลองเข้ามาติดตามข้อมูลที่น่าสนใจนี้ กันดูซิคะ ว่าดาบเล่มนี้ มีความเป็นมาอย่างไรบ้าง...
ประเด็นที่น่าสนใจ ของดาบแดงหรือดาบเหล็กน้ำพี้ เล่มนี้ ที่ชวนติดตามคือ
ประการแรก ดาบเล่มนี้เป็นของพระยาพิชัยหรือไม่

ประการที่สองเป็นดาบคู่ที่ใช้รบ หรือดาบเดี่ยวที่ใช้ถือ

ประการที่สาม ใครเป็นผู้ปลุกเสกและลงอาคมในดาบ

ประการที่สี่ ท่านขุนพันธ์ ท่านได้รับดาบเล่มนี้มาจากใคร และมีจำนวน กี่เล่มกันแน่

และประการสุดท้าย เจาะลึกเรื่องเหล็กน้ำพี้ มีพลังอำนาจเร้นลับ ในการนำมาสร้างดาบ อย่างไรบ้าง

ที่มาของการเรียกดาบเหล็กน้ำพี้ นี้ว่าดาบแดง มาจากการที่ท่านขุนพันธ์เห็นว่าดาบเหล็กน้ำพี้ เป็นดาบศักดิ์สิทธิ์ จึงนำผ้าแดง มาเย็บเป็นถุง หรือซองผ้า สวมทับดาบ ไว้อีกชั้น 

             หากไม่จำเป็นท่านก็จะไม่นำดาบออกมาจากซองผ้าสีแดง อีกทั้งเป็นการป้องกันสิ่งสกปรก ที่ไม่ควรให้เกิดแก่ดาบอาคม ซึ่งท่านอาจจะเผลอเรอ นำไปวางไว้ที่ใดที่หนึ่ง โดยไม่ตั้งใจ
สาเหตุที่ใช้ผ้าสีแดงนั้น มีผู้รู้ได้อธิบายไว้ว่า หากเราต้องการเพิ่มความเข้มขลัง ให้กับเครื่องรางของขลัง
          ตามตำราในอาถรรพเวท ของอินเดียโบราณจะใช้ผ้าสีแดงเป็นหลัก อาจจะใช้สีขาวบ้าง สุดแท้แต่ว่าเครื่องราง ของขลังนั้นจะเป็นอะไร เราจะเห็นว่า แม้แต่ผ้ายันต์ หรือเสื้อยันต์ก็นิยม ใช้ผ้าสีแดง

             สำหรับผ้าสีเหลือง ที่นิยมนำมาใช้ในตอนหลังนั้น น่าจะมาจาก ความเชื่อตามคตินิยม ของชาวพุทธที่ว่าสีเหลือง เป็นสีของธงชัยพระอรหันต์

            สำหรับประเด็นแรกที่ว่า ดาบแดงนี้ เป็นดาบ ของพระยาพิชัยดาบหักหรือไม่ ..เรื่อง นี้ มีผู้ตั้งข้อสังเกตุว่า จากข้อมูลที่ตรงกัน ท่านขุนพันธ์ ได้ให้สัมภาษณ์กับบุคคลหลายท่านว่า ดาบนี้เป็นดาบ ที่ท่านได้รับมาจาก หลวงกล้า กลางณรงค์ ที่เดินทางมารับราชการที่พิจิตร ในสมัยเดียวกับท่านขุนพันธ์

โดยท่านขุนพันธ์ ได้ฝากตัวเป็นบุตรบุญธรรมกับหลวงกล้า กลางณรงค์
ก่อนที่หลวงกล้า ท่านจะมอบดาบแดง หรือดาบเหล็กน้ำพี้ ซึ่งเป็นดาบประจำตระกูล เล่มนี้ ให้กับท่านขุนพันธ์ไว้เป็นที่ระลึก ซึ่งตามธรรมเนียมโบราณหากใครเป็นลูกบุญธรรม ผู้เป็นพ่อก็จะมอบของสำคัญของตน ตามความเหมาะสม ของฐานะ ของผู้ให้ และผู้รับ
          และจากการสืบข้อมูล หลวงกล้า กลางณรงค์ผู้นี้ ท่านเป็นผู้สืบเชื้อสาย มาจากต้นตระกูล ของพระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรรดิตถ์
โดยมีตระกูลเดิมว่า วิชัยขัขันทคะ

ซึ่งเป็นนามสกุลที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่6 ที่พระราชทานให้กับ ผู้ที่สืบเชื้อสาย ของพระยาพิชัย
หากเป็นดังนี้จริง ดาบแดงก็น่าจะเป็นดาบของพระยาพิชัยดาบหัก แน่นอน

          ประเด็นที่สองที่ว่า ดาบแดงเป็นดาบคู่ หรือดาบเดี่ยว จากข้อมูลที่สืบค้นจากจังหวัดพิจิตร และมีบุคคลยืนยันว่าดาบแดงเล่มนี้ เป็นดาบเหล็กน้ำพี้จริง แต่เป็นดาบเดี่ยว หรือดาบเล่มเดียวเท่านั้น ไม่ใช่ดาบคู่ อย่างที่เข้าใจกัน
         ดาบเหล็กน้ำพี้ของแท้นั้นจะไม่เป็น สนิมง่าย และถ้าจะให้ดี ต้องใช้ดาบสะกิด ดื่มเลือดผู้ที่เป็นเจ้าของก่อน เป็นเคล็ดที่ทำให้ดาบ มีความเข้มขลัง เมื่อออกศึกมามากเท่าใด ก็จะทำให้สีของดาบ มีสีเข้มข้นมากขึ้นเท่านั้น เป็นสีเขียวคล้ำ คมวาว เป็นสีน้ำตาลอมดำฝังแน่น บาง ทีเรียกว่าสีปีกแมลงทับ ใครที่จับดาบน้ำพี้แล้วจะฮึกเหิม อยากจะใช้งาน หรือออกศึกเป็นอาวุธที่ทรงพลังมากแม้แต่ นักรบของอยุธยาก็ยังใฝ่หาดาบที่สร้างจากเหล็กน้ำพี้ เพราะไม่เพียงใช้เป็นอาวุธ ยังสามารถ ใช้เป็นเครื่องรางได้ด้วย
         หากเวลามีภัยมาถึงตัว ดาบจะสั่น หรือบางทีขยับ เลื่อนออกจากฝัก บอกให้เจ้าของรู้ตัว การตีดาบ ต้องกระทำกลางแจ้ง และเนื่องจากอณูมวลสาร ของดาบเหล็กน้ำพี้โดยธรรมชาติ จะขยับหนี หรือแยกตัวออกในขณะที่โดนความร้อน ดังนั้นผู้ตีดาบ จึงต้องมีคาถาอาคมกำกับ มิฉะนั้นจะตีดาบ ทำดาบไม่สำเร็จ

       ประการสำคัญบ้างก็ว่าดาบเหล็กน้ำพี้ของพ่อหลิม หรือเสือไท ได้มอบให้แก่ลูกศิษย์คนสำคัญคนหนึ่งไปแล้ว แต่จะเป็นท่านขุนพันธ์หรือไม่ไม่มีใครทราบ

จึงทำให้ยังไม่แน่ใจด้วยว่าดาบของท่านขุนพันธ์นี้เป็นของหลวงกล้ากลางณรงค์ หรือ พ่อหลิมอาจารญของท่านขุนพันธ์กันแน่

               และประการสุดท้าย ใครเป็นผู้ปลุกเสกดาบลงอาคมให้ท่านขุนพันธ์ ในสมัยที่อยู่ที่จังหวัดพิจิตร หลวงตาแวว ลูกศิษ์ ก้นกุฎิ ของหลวงปู่ศุข ท่านเป็นผู้ปลุกเสกเครื่องรางของขลังต่างๆ ให้แด่ท่านขุนพันธ์

               แต่คุณฉันทิพย์ ลูกสาวของท่านขุนพันธ์ ได้เล่าไว้ว่า สมัยที่ท่านขุนพันธ์ท่านมีชีวิตอยู่ ท่านเล่าไว้ว่า ท่านผู้ที่ปลุกเสกดาบให้ท่านขุนพันธ์ คือ พระสงฆ์รูปหนึ่ง ซึ่งมีศักดิ์เป็นญาติผู้น้อง ของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

               ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ ดาบเหล็กน้ำพี้ ซึ่ง เข้าใจว่าน่าจะเป็นดาบของพระยาพิชัยนี้ ก็จะได้ผ่านการปลุกเสกมาถึงสองครั้ง จากสองเกจิอาจารย์ ผู้เป็นลูกศิษย์ ของหลวงปู่ศุขดังที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งไม่ใช่การปลุกเสกของหลวงปู่ศุขเองแน่นอน เพราะท่านได้มรณะภาพไปก่อน นานแล้ว..


จมื่นไวยวรนารถ, pigrock

http://www.infoforthai.com/forum/topic/11103