วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558

"มหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล"

"มหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล"
มหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล หมายถึง แคว้นขนาดใหญ่ หรือรัฐ ๑๖ รัฐ ตามที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ดังนี้
          ๑. แคว้นกัมโพชะ มีเมืองหลวงชื่อ ทวารกะ
          ๒.แคว้นกาสี มีเมืองหลวงชื่อ พาราณสี
          ๓.แคว้นกุรุ มีเมืองหลวงชื่อ อินทปัถะ
          ๔.แคว้นโกศล มีเมืองหลวงชื่อ สาวัตถี
          ๕.แคว้นคันธาระ มีเมืองหลวงชื่อ ตักศิลา
          ๖.แคว้นเจตี มีเมืองหลวงชื่อ โสตถิวดี
          ๗.แคว้นปัญจาละ มีเมืองหลวงชื่อ กัมปิลละ
          ๘.แคว้นมคธ มีเมืองหลวงชื่อ ราชคฤห์
          ๙.แคว้นมัจฉะ มีเมืองหลวงชื่อ วิราฎ
          ๑๐.แคว้นมัละ มีเมืองหลวงชื่อ กุสาวดี (แต่ภายหลังแยกเป็นกุสินาราและปาวา)
          ๑๑.แคว้นวังสะ มีเมืองหลวงชื่อ โกสัมพี
          ๑๒.แคว้นวัชชี มีเมืองหลวงชื่อ เวสาลี (ไพศาลี)
          ๑๓.แคว้นสุระเสนะ มีเมืองหลวงชื่อ มถุรา
          ๑๔.แคว้นอวันตี มีเมืองหลวงชื่อ อุชเชนี
          ๑๕.แคว้นอังคะ มีเมืองหลวงชื่อ จัมปา
          ๑๖.แคว้นอัสสกะ มีเมืองหลวงชื่อ โปตลิ (โปตละ)
















ภาพจากเวปhttp://www.madchima.org/forum/index.php?topic=12422.0

นอกจากมหาชนบทหรืออาณาจักร ๑๖ นี้แล้ว ยังมีแคว้นอื่นๆ ที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ที่พอจะประมวลมาได้ดังนี้
          ๑. แคว้นโกลิยะ มีเมืองหลวงชื่อ เทวทหะ (รามคาม)
          ๒.แคว้นภัคคะ มีเมืองหลวงชื่อ สุงสุมารคีระ
          ๓.แคว้นมัททะ มีเมืองหลวงชื่อ สาคละ
          ๔.แคว้นวิเทหะ มีเมืองหลวงชื่อ มิถิลา
          ๕.แคว้นสักกะ มีเมืองหลวงชื่อ กบิลพัสดุ์
          ๖.แคว้นสุนาปรันตะ มีเมืองหลวงชื่อ สุปปารกะ
          ๗. แคว้นอังคุตตราปะ เมืองหลวงเป็นเพียงนิคมชื่ออาปณะ
มหาชนบท หรืออาณาจักร ๑๖ ในสมัยพุทธกาล เท่าที่ค้นพบหลักฐานในปัจจุบัน ได้แก่ อาณาเขตและเมืองดังต่อไปนี้
          ๑. แคว้นกัมโพชะ ตั้งอยู่เหนือแคว้นคันธาระ ตั้งอยู่เหนือสุดของชมพูทวีป มีเมืองหลวงชื่อทวารกะ (ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศอัฟกานิสถาน)
          ๒.แคว้นกาสี ตั้งอยู่ตอนบรรจบของแม่น้ำคงคาและยมุนานครหลวงชื่อ พาราณสี อยู่เหนือแคว้นมคธ อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ ของแคว้นโกศล มีแคว้นวัชชีและแคว้นวิเทหะอยู่ทางตะวันออก มีแคว้นวังสะอยู่ทางตะวันตก ในสมัยพุทธกาลแคว้นกาสีถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโกศล (ปัจจุบันเรียกว่า วาราณสี)
          ๓.แคว้นกุรุ ตั้งอยู่บนลุ่มแม่น้ำยมุนาตอนบนอยู่เหนือแคว้นมัจฉะ สุรเสนะ และปัญจาละ มีเมืองหลวงชื่อ อินทปัตถะ (ปัจจุบันเป็นดินแดนราวแคว้นปัญจาบและเมืองเดลีนครหลวงของประเทศอินเดีย)
          ๔.แคว้นโกศล ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาหิมาลัยกับแม่น้ำคงคาตอนกลาง ทิศเหนือจดภูเขาหิมาลัยตะวันตก ทิศใต้จดแม่น้ำคงคา ทิศตะวันออกจดแคว้นกาสีต่อกับแคว้นมคธ นครหลวงชื่อสาวัถี (ปัจจุบันเป็นดินแดนราวเมืองอโยธยา หรือ โอธ บัดนี้เรียกว่า สะเหต-มะเหต ตั้งอยู่บนฝั่งลำน้ำอจิรวดีหรือรับดิ ห่างจากเมืองโอธไปทางทิศเหนือราว ๘๐ กิโลเมตร และอยู่ทางทิศใต้ห่างจากเขตแดนประเทศเนปาลราว ๕๐ กิโลเมตรแคว้นโกศลคือ อุตรประเทศในปัจจุบัน)
          ๕.แคว้นคันธาระ ตั้งอยู่ทางลุ่มแม่น้ำสินธุตอนบน อยู่ทางเหนือสุดของชมพูทวีป มีเพียงแคว้นกัมโพชะอยู่เหนือขึ้นไป นครหลวงชื่อตักศิลา (ปัจจุบันเป็นดินแดนนี้อยู่ราวพรมแดนทิศนะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย ตรงกับแคว้านปัญจาบภาคเหนือ อยู่ติดกับแคว้นกัษมีระหรือแคชเมียร์ นครหลวงชื่อตักสิสา อยู่ในดินแดนประเทศปากีสถาน)
          ๖.แคว้นเจตี ตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำคงคา ติดต่อกับแคว้นวังสะทางทิศตะวันออก มีแคว้นวันตีอยู่ทางทิศตะวันตก นครหลวงชื่อโสตถิวดี
          ๗.แคว้นปัญจาละ ตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำคงคาตอนบน มีแม่น้ำภาคีรถีซึ่งเป็นแควหนึ่งของแม่น้ำคงคาตอนบนไหลผ่าน มีแคว้นโกศลอยู่ทางทิศตะวันออก มีแคว้นกุรุอยู่ทางทิศตะวันตก ภูเขาหิมาลัยอยู่ทางทิศเหนือแม่น้ำคงคาอยู่ทางทิศใต้ เมืองหลวงของแคว้นนี้เดิมชื่อ หัสดินาปุระหรือหัสดินต่อมาจึงแยกไปตั้งนครหลวงใหม่คือกัมปิลละตั้งอยู่เหนือแม่น้ำคงคา ถัดลงมาถึงเมืองสังกัสสะ และถึงเมืองกันยากุพชะ(บัดนี้เรียกว่ากะเนาซ์ปัจจบันดินแดนแห่งนี้ อยู่ราวเมืองอัคราของประเทศอินเดีย)
          ๘.แคว้นมคธ ตั้งอยู่ใต้แม่น้ำคงคาตอนกลางมีแม่น้ำคงคาอยู่ห่างทิศเหนือ และมีภูเขาวินชัยอยู่ทางทิศใต้และทิศตะวันตก ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำโสนกับแคว้นอังคะ นครหลวงชื่อราชคฤห์ ตั้งอยู่ในเขตภูเขา ๕ ลูกล้อมรอบคือ ภูเขาคิชณกูฏ อิสิคิสิ ปัพภาระ เวภาระ และเวปุลละเรียกว่าเบญจคีรี ต่อมาพระเจ้าอุทายีพระราชนัดดาของพระเจ้าอชาตศัตรูได้ย้ายนครหลวงไปที่เมืองปาฏลีบุตร บนฝั่งแม่น้ำคงคาเหนือเมืองราชคฤห์ขึ้นไป (ปัจจุบันดินแดนแห่งนี้คือแคว้นพิหารของประเทศอินเดียนครราชคฤห์ บัดนี้เรียกว่า ราชคีร์ ตั้งอยู่ห่างจากเมืองปัตนะเมืองหลวงปัจจุบันของแคว้นพิหารไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๖๕ กิโลเมตร นครปาฏลีบุตร บัดนี้เรียกว่าปัตนะ)
          ๙.แคว้นมัจฉะ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสินธุกับยมุนาตอนบนมีแคว้นโกศลอยู่ทางทิศตะวันออก มีแคว้นกุรุอยู่ทางทิศเหนือ มีแคว้นสุรเสนะ อยู่ทางทิศใต้ นครหลวงชื่อวิราฏ
          ๑๐.แคว้นมัลละ ตั้งอยู่ถัดจากแคว้นโกศลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ทางเหนือของแคว้นวัชชี และทางทิศตะวันออกของแคว้นสักกะ นครหลวงชื่อกุสาวดี แต่ภายหลังแยกเป็นนครกุสินาราและนครปาวา นครกุสินารา ตั้งอยู่ในจุดบรรจบของแม่น้ำรับดิและคันธกะส่วนนครปาวาอยู่ระหว่างนครกุสินารากับนครเวลสาลีเมืองหลวงของแคว้นวัชชี (ปัจจุบันเมืองกุสินาราอยู่ในเขตประเทศอินเดียเหนือประเทศเนปาล เมืองกุสินาราบัดนี้เรียกว่าเมืองกาเซีย ส่วนนครปาวา บัดนี้เรียกว่าเมืองปัทระโอนะ)
          ๑๑.แคว้นวังสะ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของลำน้ำยมุนา ทิศใต้ของแคว้นโกศล และทางทิศตะวันตกของแคว้นกาสี นครหลวงชื่อโกสัมพี ตั้งอยู่เหนือฝั่งแม่น้ำยมุนา (ปัจจุบันนครโกสัมพี เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ชื่อว่าโกสัมอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองอัลลาฮาบัด)
          ๑๒.แคว้นวัชชี ตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันออกของแม่น้ำคันธกะอยู่ทางทิศตะวันออกของแคว้นมัลละ ทางทิศเหนือของแคว้นมคธ นครหลวงชื่อเวสาลี หรือไพศาลี (ปัจจุบันนครเวสาลีบัดนี้เรียกว่า เบสาห์อยู่ห่างจากเมืองปัตนะไปทางทิศเหนือราว ๔๕ กิโลเมตร)
          ๑๓.แคว้นสุรเสนะ ตั้งอยู่ระหว่างลำน้ำสินธุกับยมุนาตอนล่าง ตั้งอยู่ทางใต้ของแคว้นกุรุ แคว้นปัญจาละอยู่ทางทิศตะวันออก นครหลวงชื่อมถุรา (ปัจจุบันดินแดนแห่งนี้อยู่ราวแคว้นราชสถานของประเทศอินเดีย และนครมถุราอยู่ราวเมืองมัตตรา)
          ๑๔.แคว้นอวันตี หรือแคว้นมาลวะ ตั้งอยู่เหนือภูเขาวินธัย ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของแคว้นอัสสกะ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของแคว้นวังสะ นครหลวงชื่ออุชเชนี (บัดนี้คือเมืองอุเทนในประเทศอินเดีย)
          ๑๕.แคว้นอังคะ ตั้งอยู่ปลายแม่น้ำคงคา ทางทิศตะวันออกของแคว้นมคธ มีแม่น้ำจัมปากั้นแดน มีนครหลวงชื่อจัมปา ตั้งอยู่เหนือฝั่ง แม่น้ำคงคา ด้านขวา (ปัจจุบันดินแดนแห่งนี้อยู่ราวรัฐเบงคอลของประเทศอินเดีย นครจัมปา บัดนี้เรียกว่า ภคัลปูร์)
          ๑๖.แคว้นอัสสกะ ตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำโคธาวรี ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแคว้นอวันตี อยู่ติดแนวของดินแดนทักขิณาบถคือเมืองแถบใต้ มีนครหลวงชื่อโปตลิหรือโปตละ


ที่มา :http://www.dhammathai.org/buddha/g42.php

 หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข

ชุมนุม 5 ชุมนุม ในสมัยกรุงธนบุรี



มีดังนี้

1. เมืองพระฝาง คือกลุ่มชาวบ้านที่มีหัวหน้าชื่อ เรือน ซึ่งในอดีตเป็นพระภิกษุ ชั้นราชาคณะ ของ เมืองเหนือ เรียกว่า สังฆราชเรือน ได้สึกออกมาและรวบรวมผู้คนซ่องสุมกำลังป้องกันตนเอง อยู่ที่เมืองฝาง ซึ่งเป็นเมืองชายแดนเหนือสุดตามลำแม่น้ำน่านของกรุงศรีอยุธยา เป็นเมืองที่มีพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือกันมาตั้งแต่เมื่อครั้งเมืองฝางยังเป็นดินแดนของแคว้นสุโขทัย ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ตำบลผาจุก อำเภอเมือง
จังหวัดอุตรดิตถ์
2. เมืองพิษณุโลก ซึ่งเคยเป็นหัวเมืองทางเหนือที่สำคัญของอยุธยา และเคยเป็นเมืองสำคัญของสุโขทัย มาก่อน เจ้าเมืองพิษณุโลก ( เรือง ) ได้สถาปนาตนขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน และรวบรวมบ้านเมืองที่เคยเป็นเมืองทางเหนือ ของอยุธยาไว้ด้วยกันแต่ก็ไม่สามารถทำได้สำเร็จ จึงมีอำนาจอยู่เฉพาะที่เมืองพิษณุโลกเท่านั้น
3. เมืองพิมาย มีเจ้าพิมายรวบรวมผู้คนในละแวกเมืองพิมาย ซึ่งเป็นบริเวณที่มีผู้คนมาก เนื่องจากเป็น ดินแดนของการตั้งรกรากที่อาศัยมาแต่ดั้งเดิม และเป็นบ้านเมืองที่เจริญมาตั้งแต่ราชอาราจักรขอมกัมพูชา กรมหมื่นเทพพิพิธ เชื้อพระวงศ์ชั้นสูงของราชสำนักอยุธยาได้หนีมาอยู่กับเจ้าพิมายด้วย แต่อำนาจทั้งหลายยังคงอยู่ที่เจ้าพิมายซึ่งมีฐานกำลังของคนพื้นเมืองพวกเดียวกัน
4. เมืองนครศรีธรรมราช เมืองใหญ่บนดินแดนแหลมมลายูของราชอาณาจักรอยุธยาเดิมและเคยเป็นเมืองสำคัญแต่โบราณ ที่ถูกอยุธยาผนวกดินแดนไว้ตั้งแต่ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ปลัดเมืองนครศรีธรรมราชชื่อหนูตั้งตัวเป็นใหญ่
หัวเมืองอื่นๆ ตั้งแต่ใต้เมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป อาทิเช่นเมืองสงขลา เมืองพัทลุง ต่างก็ยอมรับอำนาจของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ( หนู ) แต่โดยดี
5. เมืองจันทบุรี ซึ่งตั้งอยู่นอกเขตการรุกรานของกองทัพพม่าที่เข้ามาทำสงครามครั้งนี้ หัวหน้าคือพระยาตาก ( สิน ) ซึ่งต่อมาคือพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าพระเจ้าตากสินมหาราช ขุนนางหัวเมืองเหนือของกรุงศรีอยุธยาที่ถูกเรียกมาช่วยป้องกัน พระนครศรีอยุธยา ได้นำทหารหัวเมืองที่ติดตามมาด้วยกันประมาณ 500 กว่าคน ตีฝ่าวงล้อมกองทัพพม่าที่ปิดล้อมกรุงศรีอยุธยาออกมาได้ และมาตั้งมั่นรวบรวมผู้คนจากบ้านเมืองแถบชายฝั่งทะเลตะวันออกตั้งแต่ระยองลงไป


https://manechan.wordpress.com/2012/02/10/%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A1-5-%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A1-%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8/

วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วังเพชรบูรณ์




ประวัติของตำหนักประถม
          ตำหนักประถมเดิมสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2462 เป็นตำหนักแรกภายในวังเพชรบูรณ์ของสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย (พ.ศ.2435-2466) พระราชโอรสองค์ที่ 72 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่แปดของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง

          เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษใหม่ๆ สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชยังไม่มีที่ประทับเป็นส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเชษฐาองค์โตร่วมพระราชชนนีจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินบริเวณพระราชวังปทุมวัน และโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวังนี้ว่า วังเพชรบูรณ์

          แต่เดิมวังเพชรบูรณ์ตั้งอยู่ที่สี่แยกราชประสงค์ หรือศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ในปัจจุบัน เป็นวังที่ร่มรื่นมาก ด้านหน้าวังมีพื้นที่ติดถนนพระรามที่ 1 ด้านขวาติดวังสระปทุม ด้านซ้ายติดถนนราชดำริและด้านหลังติดคลองแสนแสบ ภายในวังโปรดให้ขุดสระใหญ่ๆ สองสระ มีเกาะน้อย เกาะใหญ่ รายล้อมไปด้วยน้ำและต้นไม้ และมีบรรยากาศที่ก่อให้เกิดตำนานเล่าขานต่างๆ เช่นว่า มีนางเงือกสิงสถิตย์อยู่ในบริเวณนี้ และในคืนวันเพ็ญเดือนหงายจะโผล่ขึ้นมานั่งสางผมบนเกาะ

          เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชสิ้นพระชนม์ลงในพ.ศ.2466 ด้วยพระชนมายุเพียง 31 ชันษา วังเพชรบูรณ์เป็นที่ประทับต่อของพระชายา ม.จ.บุญจิราธร จุฑาธุช และยังคงความร่มรื่นต่อไป จนกระทั่ง ม.จ.บุญจิราธร สิ้นพระชนม์ลงเมื่อปี 2523 และวังเพชรบูรณ์ กลับคืนไปอยู่ในครอบครองของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ก่อนจะกลายสภาพเป็นศูนย์การค้า พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา พระธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุช ได้ขอพระราชทานรื้อถอนบางส่วน เพื่อชะลอมาไว้ที่ซอยอัคนี ถนนงามวงศ์วาน ซอย 2 เมื่อปี 2527

          ตำหนักประถมได้รับการรื้อถอนแล้วสร้างขึ้นใหม่ตามรูปแบบเดิม ตามหลักสถาปัตยกรรมที่ถูกต้องโดยอาจารย์สุนนท์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา สถาปนิกอนุรักษ์แห่งมหาวิทยลัยศิลปากร เมื่อสถาปนิกเข้าไปสำรวจครั้งแรกได้พบว่าตัวอาคารซึ่งเป็นไม้สักทองนั้น ถึงแม้ภายนอกจะมีลักษณะเก่าคร่ำคร่าเนื่องจากยืนตากแดดตากฝนมากว่า 60 ปี แต่โครงสร้างภายในตลอดจนส่วนประกอบของตัวบ้านยังมีความสมบูรณ์เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ โครงสร้างที่ต้องซ่อมแซมได้แก่รอยต่อของเสาบางต้นซึ่งชำรุดเพราะความชื้นเท่านั้นเอง

          ตัวอาคารซึ่งเรียกว่า "ตำหนักประถม" นั้น เป็นอาคารไม้สักใต้ถุนสูง ลักษณะอาคารเป็นแบบพักอาศัยในยุคที่กำลังได้รับอิทธิพลจากตะวันตกในยุคแรกๆ คือมีการวางห้องต่างๆ ให้ติดต่อกันภายใต้หลังคาชัน เพดานสูง มีบานเกล็ดหรือบานกระทุ้งตามหน้าต่างเพื่อระบายความร้อน เรียกได้ว่าถึงจะเป็นอาคารฝรั่ง แต่ก็เป็นฝรั่งหน้าตาไทยๆ มีเนื้อที่ใช้สอยอยู่ชั้นสองซึ่งประกอบด้วยห้องนอน ห้องรับแขก และห้องน้ำ ซึ่งคงจะเป็นการต่อเติมภายหลัง นอกจากนี้ยังมีห้องใต้หลังคาชั้นสาม เดิมใช้เป็นที่เก็บของ ซึ่งก็เป็นความคิดแบบฝรั่งๆ เช่นกัน

          การจัดบ้านภายในตำหนักประถมดังเช่นที่เห็นในปัจจุบันเรียกว่า เป็นไปตามจินตนาการของผู้จัด ว่าบ้านของศิลปินหนุ่มนั้นน่าจะมีลักษณะเช่นใด อย่างไรก็ตามเครื่องเรือนบางชิ้น เช่นเตียง และโคมไฟบางดวง ตลอดจนเครื่องฮาร์พซึ่งมีอายุเกือบ 100 ปีนั้น เป็นของเก่าดั้งเดิมที่อยู่ภายในบ้าน เครื่องประดับประดา สิ่งละอันพันละน้อย ก็เป็นของเก่าแก่ที่ตกทอดมาภายในครอบครัวนานประมาณสี่ชั่วอายุคน

          ส่วนเรือนริมน้ำเป็นอาคารเล็กๆ น่ารักที่ก่อสร้างด้วยความประณีตยิ่ง คิ้ว บัว ผนัง และเพดานมีรายละเอียดสวยงาม เรือนน้ำและเรือนต้นไม้แปดเหลี่ยมซึ่งแต่เดิมเป็นที่ตั้งตู้ปลา ได้โยกย้ายมาจากวังเพชรบูรณ์เดิมพร้อมกับตำหนักประถมและประกอบขึ้นใหม่เสร็จสิ้นเมื่อปีพ.ศ.2528

          ส่วนอาคารไม้หลังใหญ่อีกหลังหนึ่งซึ่งต่อเติมออกมาจากตำหนักประถมนั้น ประกอบขึ้นใหม่ในปี พ.ศ.2534 โดยนายญานี ตราโมท จุดเด่นของบ้านหลังใหญ่ หรือเรียกกันว่าตำหนักใหม่นั้นคือ ห้องโถงปิดลายทองที่ได้รับการบูรณะใหม่โดยช่างกรมศิลปากร


เจ้าฟ้านักฮาร์พ
          สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชฯ เป็นศิลปินไทยพระองค์แรกที่ทรงเรียนเล่นพิณฝรั่งหรือฮาร์พ และได้นำฮาร์พเครื่องหนึ่งกลับมาทรงที่เมืองไทยในฐานะเป็นเครื่องดนตรีชิ้นโปรดด้วย

          ฮาร์พตัวนี้ ทำโดยตระกูลมอร์ลี ช่างฮาร์พหลวง (ในอดีต) ของอังกฤษ ท่านทรงซื้อเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2459 และหลังจากสิ้นพระชนม์แล้ว ฮาร์พตัวนี้ถูกทอดทิ้งอยู่ในวังเพชรบูรณ์โดยไม่มีคนเล่น ครั้นมีการชะลอตำหนักประถมมาอยู่ที่นนทบุรี ฮาร์พตัวนี้ได้ตามมาด้วย

          เมื่อปี พ.ศ.2543 ทายาทส่งฮาร์พนี้ไปบูรณะที่โรงงานดั้งเดิมที่อังกฤษ เพื่ออนุรักษ์ไว้เป็นฮาร์พประวัติศาสตร์ เป็นฮาร์พตัวแรกของประเทศไทย
พระประวัติ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย
          สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย เป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ประสูติเมื่อวันอังคารที่ 5 กรกฎาคม ปีมะโรง พ.ศ.2435 ทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอในรัชกาลที่ 6

          ทรงศึกษาที่โรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง แล้วเข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยชั้นประถมจน พ.ศ.2448 จึงเสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ เข้าศึกษาในวิทยาลัยแมคเดอเลน ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ จนสำเร็จการศึกษาได้ปริญญาตรี ด้านวรรณคดี ในปี พ.ศ.2459 พระองค์ทรงโปรดวิชาการดนตรีและการละคร ทรงดีดพิณที่เรียกว่า ฮาร์พ ได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งทรงโปรดเปียโนและไวโอลิน เสด็จกลับมาประทับที่วังพญาไท เมื่อปี พ.ศ.2461

          พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย ทรงบรรจุเป็นข้าราชการในกระทรวงธรรมการ และเป็นศาสตราจารย์สอนวิชาภาษาอังกฤษของคณะรัฎฐประศาสนศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ.2461 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา โรงเรียนเพาะช่าง ตั้งแต่ พ.ศ.2462 พร้อมทั้งพระราชทานที่ดินบริเวณวังปทุมวัน สร้างตำหนักประถม ให้เป็นที่ประทับ ขึ้นเป็นหลังแรก พระราชทานนามวังใหม่ว่า "วังเพชรบูรณ์" พระองค์เสด็จมาประทับราวกลาง พ.ศ.2462 เป็นต้นมา และในปี พ.ศ.2465 ก็ทรงได้รับพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการโรงเรียนเพาะช่าง และทรงอภิเษกกับ หม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธรชุมพล ในปีเดียวกัน

          สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2466 ด้วยพระโรคบิด และพระวักกะ(ไต)พิการ ณ วังเพชรบูรณ์ พระชนมายุได้ 31 พรรษา มีพระโอรสธิดา 2 พระองค์ คือ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า สุทธสิริโสภา และพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช


เจ้าฟ้านักฮาร์พ
          สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชฯ เป็นศิลปินไทยพระองค์แรกที่ทรงเรียนเล่นพิณฝรั่งหรือฮาร์พ และได้นำฮาร์พเครื่องหนึ่งกลับมาทรงที่เมืองไทยในฐานะเป็นเครื่องดนตรีชิ้นโปรดด้วย

          ฮาร์พตัวนี้ ทำโดยตระกูลมอร์ลี ช่างฮาร์พหลวง (ในอดีต) ของอังกฤษ ท่านทรงซื้อเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2459 และหลังจากสิ้นพระชนม์แล้ว ฮาร์พตัวนี้ถูกทอดทิ้งอยู่ในวังเพชรบูรณ์โดยไม่มีคนเล่น ครั้นมีการชะลอตำหนักประถมมาอยู่ที่นนทบุรี ฮาร์พตัวนี้ได้ตามมาด้วย

          เมื่อปี พ.ศ.2543 ทายาทส่งฮาร์พนี้ไปบูรณะที่โรงงานดั้งเดิมที่อังกฤษ เพื่ออนุรักษ์ไว้เป็นฮาร์พประวัติศาสตร์ เป็นฮาร์พตัวแรกของประเทศไทย




http://khunmaebook.tarad.com/product.detail_646347_th_4614561#
http://www.bangkokgoguide.com/ev-tprathom-hist.php

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

รัฐบุรุษ นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยคนที่ 16

พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก เปรม ติณสูลานนท์
 (26 สิงหาคม พ.ศ. 2463 — ) ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยคนที่ 16 ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี 3 สมัย ระหว่างปี พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2531และเป็นนายกรัฐมนตรีตามคำเชิญของรัฐสภาที่ครองอำนาจยาวนานที่สุด ทั้งนี้เพราะกฎหมายไทยในสมัยนั้นไม่ได้กำหนดให้รัฐสภาต้องเลือกนายกรัฐมนตรี จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
บุคลิกส่วนตัวพลเอกเปรมเป็นคนพูดน้อย ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย จะให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนน้อยมาก จนถูกหนังสือพิมพ์ในขณะนั้นเรียกขานว่า เตมีย์ใบ้ [1] และได้รับอีกฉายาหนึ่งว่า นักฆ่าแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา จากเหตุการณ์กบฏเมษาฮาวายและกบฏ 9 กันยา[2]
หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรม เป็นองคมนตรี ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2531 จากนั้นในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ได้รับโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ และในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2541 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี

อินทร์ จันทร์


อินทร์
จันทร์ 


มั่น
คง

 หล่อ   อยู่
ยั่ง

พระ   ยืน
ยงค์

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คดีสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรีอีสาน พ.ศ. 2492

บันทึกของ คดีสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรีอีสาน พ.ศ. 2492

  • ใน 4 อดีตรัฐมนตรีอีสานมี
  • นายเตียง ศิริขันธ์

















..............................................




นายจำลอง ดาวเรือง


ชื่อ นายจำลอง ดาวเรือง นายจำลอง ดาวเรือง เกิดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2453 ที่บ้านงัวบา ตำบลงัวบา อำเภอวาปีปทุม เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายมา และนางสอน ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 6 คน ครอบครัวอยู่ในฐานะยากจน มีอาชีพทำนา อายุ 7 ปี ได้เข้าเรียนในโรงเรียนประชาบาลวัดบ้านงัวบา โดยอาศัยศาลาวัดเป็นสถานที่เรียน พอถึงชั้นประถมปีที่ 3 ศึกษาธิการอำเภอวาปีปทุม (เช็ค เยาวสุต) ได้ชักนำให้ไปเรียนต่อที่อำเภอวาปีปทุม จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก แขก (ตอนเด็ก ๆ หน้าตาคล้ายแขก ตาโต จมูกโต คิ้วดก แขนขายาว ผิดจากพี่น้องด้วยกัน จึงถูกเรียกว่าแขก) เป็นจำลอง
ต่อมานายจำลอง ดาวเรือง ได้ไปเรียนต่อที่โรงเรียนสารคามพิทยาคม ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด ขณะนั้นตั้งอยู่วัดโพธิ์ศรี จำลองเป็นคนเรียนเก่ง จบชั้นประถมศึกษาในปี พ.ศ. 2464 และได้เข้าเรียนต่อชั้นมัธยมปีที่ 1 ที่โรงเรียนสารคามพิทยาคม (ซึ่งช่วงนั้นย้ายมาตั้งที่สถานที่ปัจจุบัน) มีเพื่อนร่วมรุ่นและเป็นคู่แข่งทางการเรียนกันมาตลอดคือ นายบุญถิ่น อัตถากร
จบชั้นมัธยมปีที่ 3 จากโรงเรียนสารคามพิทยาคม ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนแล้ว ได้ไปเรียนที่โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย จบชั้นมัธยมปีที่ 5 ในปี พ.ศ. 2468 ไม่ได้เรียนต่อเพราะไม่มีทุนทรัพย์
หลวงพิสิษฐ์ เกษมสวัสดิ์ (เจ๊กหยงนี) เจ้าของรถยนต์โดยสารเห็นว่าจำลองเป็นคนเรียนเก่ง ความประพฤติดี รักการกีฬาและเครื่องยนต์ จึงออกค่าใช้จ่ายให้จำลองไปเรียนช่างกลที่กรุงเทพมหานคร
ต่อมาจำลอง ดาวเรือง ได้สมัครเป็นครูประชาบาล ที่อำเภอวาปีปทุม แล้วลาออกมาตั้งโรงเรียนราษฎร์ขึ้นที่อำเภอวาปีปทุม ชื่อโรงเรียนเรืองวิทยา เมื่อ พ.ศ. 2480 นับเป็นโรงเรียนราษฎร์แห่งแรกของจังหวัดมหาสารคาม นายจำลอง ดาวเรืองเป็นผู้จัดการ แล้วเปิดอบรมชุดครูให้กับครูประชาบาล ทำให้มีคนรู้จักมาก
นายจำลอง ดาวเรือง ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร จังหวัดมหาสารคาม 3 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 - 2490 มีแนวคิดท้องถิ่นนิยม ต้องการให้มีการกระจายอำนาจลงสู่ชนบทเป็นหลัก แนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกับ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ (ส.ส. อุบลราชธานี) นายถวิล อุดล (ส.ส ร้อยเอ็ด) และนายเตียง ศิริขันธ์ (ส.ส สกลนคร) กลุ่มนี้เป็นฝ่ายค้านและผลักดันให้กลุ่มผู้แทนราษฎรภาคอีสานเคลื่อนไหวคัดค้านนโยบายรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้รัฐบาลตัดสินใจยุบสภา ในปี พ.ศ. 2481
นอกจากนั้นยังมีแนวคิดเสรีนิยมมุ่งต่อต้านเผด็จการทหาร โดยรวมกลุ่มกับนายปรีดี พนมยงค์ นายเลียง ไชยกาล พระสารคามคณาภิบาล นายทองม้วน อัตถากร นายทองดี ณ กาฬสินธุ์ ฯลฯ ต่อมาได้ร่วมกันตั้งพรรคการเมืองชื่อ "พรรคสหชีพ" โดยนโยบายพรรคยึดถือเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์
การทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎร ได้ตั้งกระทู้ถามรัฐบาลหลายเรื่อง เช่นการเก็บภาษีอากรค่านาในภาคอีสาน การไปตรวจราชการของรัฐมนตรี การศึกษา การกินสินบนของข้าราชการ ฯลฯ
ได้ร่วมกันออกหนังสือพิมพ์ราย 10 วัน ชื่อ "สยามอุโฆษ" ในปี พ.ศ. 2480 นายเตียง ศิริขันธ์เป็นบรรณาธิการ
นายจำลอง ดาวเรือง เป็นนักการเมืองที่ท้าทายอำนาจรัฐ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านตามกติกาในระบบรัฐสภา ทำให้มีความโดดเด่นในสภาผู้แทนราษฎร เป็นที่ยอมรับของเพื่อนสมาชิก แต่เป็นที่ลำปากใจแก่รัฐบาล ในสมัยต่อมานายจำลอง ดาวเรือง ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีติดต่อกัน 4 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 - 2490
จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร ในปี พ.ศ. 2490 เป็นผลให้บทบาททางการเมืองของนายจำลอง ดาวเรือง ยุติลง โดยถูกจับกุมในข้อหากบฎ และถูกสังหารอย่างทารุณ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2492 ดังที่ปรากฏในเรื่อง " การสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรี" ที่เป็นความทรงจำของผู้คนทั่วประเทศ มาจนถึงปัจจุบันนี้
http://kanchanapisek.or.th/oncc-cgi/text.cgi?no=15880
อ้างอิงจาก
ธีรวัฒน์ ประนัดสุดจ่า. แนวความคิดทางการเมืองของเมืองของจำลอง ดาวเรืองวิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. 2542 หัด ดาวเรือง. ชีวิตและงานของสิ่งอดีตรัฐมนตรี. พระนคร. อักษรสาสน์. 2508

นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์
นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เป็นนักการเมือง ภาคอีสาน จังหวัดอุบลราชธานี ผู้เป็นที่รู้จักกันดีในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ในกรณี "พระราชบัญญัติปักป้ายข้าวเหนียว" ต่อมาได้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาล นายปรีดี พนมยงค์
นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เป็น 1 ใน 4 อดีตรัฐมนตรีที่ถูกสังหารโหด ที่ ทุ่งบางเขน เมื่อปี พ.ศ. 2492 ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ด้วยสาเหตุทางการเมือง ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น นักการเมืองผู้ต่อสู้เพื่อชาวอิสานอย่างแท้จริงคนหนึ่ง
นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 ที่บ้านหนองยาง ตำบลหัวเรือ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี มีคู่สมรส 1 คน คือเจ้าศิริบังอร ณ จำปาศักดิ์ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ จึงมีความเกี่ยวดองเป็นเขยของตระกูลเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ ในประเทศลาวด้วย (อ่านเพิ่มที่)

...............................................................................................................................................................


นายถวิล อุดล
นายถวิลดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดร้อยเอ็ด 2 สมัย เป็นหัวหน้าเสรีไทย จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเคยเดินทางไปติดต่อขอความร่วมมือจาก ประเทศจีน แนวคิดทางการเมืองที่สำคัญ คือ เงินภาษีที่เก็บจากประชาชน ต้องเป็นประโยชน์กลับคืนสู่ประชาชนทั้งหมด
นายถวิล อุดล เสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2492 หลังเหตุการณ์กบฏแบ่งแยกดินแดน โดยถูกจับกุมพร้อมกับ อดีตรัฐมนตรีอีสานอีก 3 คน คือ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายจำลอง ดาวเรือง และนายทองเปลว ชลภูมิ และถูกนำตัวไปที่บริเวณ ทุ่งบางเขน ถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 11 โดย กรมตำรวจ ในเวลานั้นอ้างเหตุว่า มีโจรคอมมิวนิสต์มลายู มาชิงตัว 4 อดีตรัฐมนตรี และเกิดการต่อสู้ขึ้น จนทำให้ทั้ง 4 คน ถูกลูกหลงเสียชีวิตทั้งหมด แต่ไม่ใคร่จะมีใครเชื่อข้ออ้างดังกล่าวนัก เนื่องจากไม่มีตำรวจเสียชีวิตหรือบาดเจ็บแม้แต่รายเดียว

..............................................................................................................................................................
ดร.ทองเปลว ชลภูมิเป็น สส.นครนายก



http://www.lek-prapai.org/porpeang_view.php?week=20



ส่วน(อดีตรัฐมนตรี และเป็นคณะราษฎรด้วย)
แต่ถูกนำตัวไปสังหาร พร้อมกับ
นายจำลอง ดาวเรือง
นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์
นายถวิล อุดล
ในปีพศ.2492 เหตุการณ์ครั้งนี้ 4คน

ส่วนนายเตียง ศิริขันธ์ โดนสังหารในปี 2495 3ปีถัดมา

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (สมัยกรุงศรีอยุธยา - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2342) หรือพระนามเดิมว่า สา พระธิดาองค์โตในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ประสูติจากพระอัครมเหสี (หยก) ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นพระพี่นางพระองค์โตในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี ทรงสถาปนาท่านขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี
เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี เสกสมรสกับ หม่อมเสม ที่พระอินทรรักษา เจ้ากรมตำรวจใหญ่ซ้าย ฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคล มีพระโอรส-ธิดา คือ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1 เมื่อวันศุกร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 12 ปีมะแม จ.ศ. 1161 ตรงกับ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2342 พระชันษา 70 ปีเศษ ถวายพระเพลิงพระศพ เมื่อข้างขึ้น เดือน 6 พ.ศ. 2343 [1]

 

อ้างอิง

http://th.wikipedia.org/wiki

^ หม่อมราชวงศ์ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี, บรรณกิจ, 2549, ISBN 974-221-818-8