วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คดีสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรีอีสาน พ.ศ. 2492

บันทึกของ คดีสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรีอีสาน พ.ศ. 2492

  • ใน 4 อดีตรัฐมนตรีอีสานมี
  • นายเตียง ศิริขันธ์

















..............................................




นายจำลอง ดาวเรือง


ชื่อ นายจำลอง ดาวเรือง นายจำลอง ดาวเรือง เกิดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2453 ที่บ้านงัวบา ตำบลงัวบา อำเภอวาปีปทุม เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายมา และนางสอน ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 6 คน ครอบครัวอยู่ในฐานะยากจน มีอาชีพทำนา อายุ 7 ปี ได้เข้าเรียนในโรงเรียนประชาบาลวัดบ้านงัวบา โดยอาศัยศาลาวัดเป็นสถานที่เรียน พอถึงชั้นประถมปีที่ 3 ศึกษาธิการอำเภอวาปีปทุม (เช็ค เยาวสุต) ได้ชักนำให้ไปเรียนต่อที่อำเภอวาปีปทุม จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก แขก (ตอนเด็ก ๆ หน้าตาคล้ายแขก ตาโต จมูกโต คิ้วดก แขนขายาว ผิดจากพี่น้องด้วยกัน จึงถูกเรียกว่าแขก) เป็นจำลอง
ต่อมานายจำลอง ดาวเรือง ได้ไปเรียนต่อที่โรงเรียนสารคามพิทยาคม ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด ขณะนั้นตั้งอยู่วัดโพธิ์ศรี จำลองเป็นคนเรียนเก่ง จบชั้นประถมศึกษาในปี พ.ศ. 2464 และได้เข้าเรียนต่อชั้นมัธยมปีที่ 1 ที่โรงเรียนสารคามพิทยาคม (ซึ่งช่วงนั้นย้ายมาตั้งที่สถานที่ปัจจุบัน) มีเพื่อนร่วมรุ่นและเป็นคู่แข่งทางการเรียนกันมาตลอดคือ นายบุญถิ่น อัตถากร
จบชั้นมัธยมปีที่ 3 จากโรงเรียนสารคามพิทยาคม ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนแล้ว ได้ไปเรียนที่โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย จบชั้นมัธยมปีที่ 5 ในปี พ.ศ. 2468 ไม่ได้เรียนต่อเพราะไม่มีทุนทรัพย์
หลวงพิสิษฐ์ เกษมสวัสดิ์ (เจ๊กหยงนี) เจ้าของรถยนต์โดยสารเห็นว่าจำลองเป็นคนเรียนเก่ง ความประพฤติดี รักการกีฬาและเครื่องยนต์ จึงออกค่าใช้จ่ายให้จำลองไปเรียนช่างกลที่กรุงเทพมหานคร
ต่อมาจำลอง ดาวเรือง ได้สมัครเป็นครูประชาบาล ที่อำเภอวาปีปทุม แล้วลาออกมาตั้งโรงเรียนราษฎร์ขึ้นที่อำเภอวาปีปทุม ชื่อโรงเรียนเรืองวิทยา เมื่อ พ.ศ. 2480 นับเป็นโรงเรียนราษฎร์แห่งแรกของจังหวัดมหาสารคาม นายจำลอง ดาวเรืองเป็นผู้จัดการ แล้วเปิดอบรมชุดครูให้กับครูประชาบาล ทำให้มีคนรู้จักมาก
นายจำลอง ดาวเรือง ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร จังหวัดมหาสารคาม 3 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 - 2490 มีแนวคิดท้องถิ่นนิยม ต้องการให้มีการกระจายอำนาจลงสู่ชนบทเป็นหลัก แนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกับ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ (ส.ส. อุบลราชธานี) นายถวิล อุดล (ส.ส ร้อยเอ็ด) และนายเตียง ศิริขันธ์ (ส.ส สกลนคร) กลุ่มนี้เป็นฝ่ายค้านและผลักดันให้กลุ่มผู้แทนราษฎรภาคอีสานเคลื่อนไหวคัดค้านนโยบายรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้รัฐบาลตัดสินใจยุบสภา ในปี พ.ศ. 2481
นอกจากนั้นยังมีแนวคิดเสรีนิยมมุ่งต่อต้านเผด็จการทหาร โดยรวมกลุ่มกับนายปรีดี พนมยงค์ นายเลียง ไชยกาล พระสารคามคณาภิบาล นายทองม้วน อัตถากร นายทองดี ณ กาฬสินธุ์ ฯลฯ ต่อมาได้ร่วมกันตั้งพรรคการเมืองชื่อ "พรรคสหชีพ" โดยนโยบายพรรคยึดถือเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์
การทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎร ได้ตั้งกระทู้ถามรัฐบาลหลายเรื่อง เช่นการเก็บภาษีอากรค่านาในภาคอีสาน การไปตรวจราชการของรัฐมนตรี การศึกษา การกินสินบนของข้าราชการ ฯลฯ
ได้ร่วมกันออกหนังสือพิมพ์ราย 10 วัน ชื่อ "สยามอุโฆษ" ในปี พ.ศ. 2480 นายเตียง ศิริขันธ์เป็นบรรณาธิการ
นายจำลอง ดาวเรือง เป็นนักการเมืองที่ท้าทายอำนาจรัฐ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านตามกติกาในระบบรัฐสภา ทำให้มีความโดดเด่นในสภาผู้แทนราษฎร เป็นที่ยอมรับของเพื่อนสมาชิก แต่เป็นที่ลำปากใจแก่รัฐบาล ในสมัยต่อมานายจำลอง ดาวเรือง ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีติดต่อกัน 4 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 - 2490
จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร ในปี พ.ศ. 2490 เป็นผลให้บทบาททางการเมืองของนายจำลอง ดาวเรือง ยุติลง โดยถูกจับกุมในข้อหากบฎ และถูกสังหารอย่างทารุณ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2492 ดังที่ปรากฏในเรื่อง " การสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรี" ที่เป็นความทรงจำของผู้คนทั่วประเทศ มาจนถึงปัจจุบันนี้
http://kanchanapisek.or.th/oncc-cgi/text.cgi?no=15880
อ้างอิงจาก
ธีรวัฒน์ ประนัดสุดจ่า. แนวความคิดทางการเมืองของเมืองของจำลอง ดาวเรืองวิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. 2542 หัด ดาวเรือง. ชีวิตและงานของสิ่งอดีตรัฐมนตรี. พระนคร. อักษรสาสน์. 2508

นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์
นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เป็นนักการเมือง ภาคอีสาน จังหวัดอุบลราชธานี ผู้เป็นที่รู้จักกันดีในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ในกรณี "พระราชบัญญัติปักป้ายข้าวเหนียว" ต่อมาได้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาล นายปรีดี พนมยงค์
นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เป็น 1 ใน 4 อดีตรัฐมนตรีที่ถูกสังหารโหด ที่ ทุ่งบางเขน เมื่อปี พ.ศ. 2492 ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ด้วยสาเหตุทางการเมือง ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น นักการเมืองผู้ต่อสู้เพื่อชาวอิสานอย่างแท้จริงคนหนึ่ง
นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 ที่บ้านหนองยาง ตำบลหัวเรือ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี มีคู่สมรส 1 คน คือเจ้าศิริบังอร ณ จำปาศักดิ์ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ จึงมีความเกี่ยวดองเป็นเขยของตระกูลเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ ในประเทศลาวด้วย (อ่านเพิ่มที่)

...............................................................................................................................................................


นายถวิล อุดล
นายถวิลดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดร้อยเอ็ด 2 สมัย เป็นหัวหน้าเสรีไทย จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเคยเดินทางไปติดต่อขอความร่วมมือจาก ประเทศจีน แนวคิดทางการเมืองที่สำคัญ คือ เงินภาษีที่เก็บจากประชาชน ต้องเป็นประโยชน์กลับคืนสู่ประชาชนทั้งหมด
นายถวิล อุดล เสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2492 หลังเหตุการณ์กบฏแบ่งแยกดินแดน โดยถูกจับกุมพร้อมกับ อดีตรัฐมนตรีอีสานอีก 3 คน คือ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายจำลอง ดาวเรือง และนายทองเปลว ชลภูมิ และถูกนำตัวไปที่บริเวณ ทุ่งบางเขน ถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 11 โดย กรมตำรวจ ในเวลานั้นอ้างเหตุว่า มีโจรคอมมิวนิสต์มลายู มาชิงตัว 4 อดีตรัฐมนตรี และเกิดการต่อสู้ขึ้น จนทำให้ทั้ง 4 คน ถูกลูกหลงเสียชีวิตทั้งหมด แต่ไม่ใคร่จะมีใครเชื่อข้ออ้างดังกล่าวนัก เนื่องจากไม่มีตำรวจเสียชีวิตหรือบาดเจ็บแม้แต่รายเดียว

..............................................................................................................................................................
ดร.ทองเปลว ชลภูมิเป็น สส.นครนายก



http://www.lek-prapai.org/porpeang_view.php?week=20



ส่วน(อดีตรัฐมนตรี และเป็นคณะราษฎรด้วย)
แต่ถูกนำตัวไปสังหาร พร้อมกับ
นายจำลอง ดาวเรือง
นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์
นายถวิล อุดล
ในปีพศ.2492 เหตุการณ์ครั้งนี้ 4คน

ส่วนนายเตียง ศิริขันธ์ โดนสังหารในปี 2495 3ปีถัดมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น